วัฒนธรรมองค์การและความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา ลอยล่อง นิสิตปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • พรพรรณ เหมะพันธุ์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์การ, ความสุขในการปฏิบัติงาน, วัฒนธรรมพันธกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (2) เพื่อเปรียบเทียบความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมพันธกิจกับความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 447 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการ รวมทั้งสิ้น 207 คน ซึ่งมีการคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน รวมทั้งการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ภายหลังด้วยวิธีการทดสอบของ Fisher ผลการศึกษาพบว่า ระดับความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านการเป็นที่ยอมรับ และด้านความรักในงาน ปัจจัยส่วนบุคคลไม่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 วัฒนธรรมพันธกิจ ด้านความมุ่งมั่นต่อวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ ด้านค่านิยมใฝ่สัมพันธ์ และด้านการมีส่วนร่วมแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีความสัมพันธ์กับความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ข้อเสนอแนะในการศึกษา ได้แก่ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีวัฒนธรรมพันธกิจ ด้านค่านิยมใฝ่สัมพันธ์ เป็นอย่างดี จึงควรรักษาค่านิยมดังกล่าวไว้ แต่ควรยกระดับ ด้านความมุ่งมั่นต่อวิสัยทัศน์และพันธกิจ โดยมีการประชาสัมพันธ์ด้านวิสัยทัศน์ และพันธกิจผ่านช่องทางที่หลากหลาย ในขณะที่ด้านการมีส่วนร่วมแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ข้าราชการควรให้ความร่วมมือในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ และยุทธศาสตร์ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล

References

กรกฎ แน่นหนา และ ปิยากร หวังมหาพร. (2564). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 10(1), 109-124

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. (2562). ประกาศกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เรื่อง แผนปฏิบัติราชการของกรมทรัพยากร น้ำบาดาลระยะ 5 ปี (วาระแรก 3 ปี พ.ศ. 2563 – 2565). กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. (2565). รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการ ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2566. จาก www.dgr.go.th/psdg/th/home.

จิรภัทร์ โพธิ์บาทะ. (2565). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ชนัตพร เหี้ยมหาญ. (2562). บรรยากาศองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การของข้าราชการและลูกจ้าง สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)

ณัฐชญา พึ่งโต. (2563). ความผูกพันในองค์การของบุคลากรประเภทลูกจ้างเหมาบริการในหน่วยงานราชการ กรณีศึกษา: เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 13(3), 106-121.

ณิรดา พราหมณ์ชู. (2563). ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวชิาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวดันครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 3(1), 81-98.

เดือนเพ็ญ สาสังข์ และ ศรีรัฐ โกวงศ์. (2566). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 12(1), 76-87.

ธนเดช สอนสะอาด, ชมภูนุช หุ่นนาค, พลศักดิ์ จิรไกรศิริ และ วิพร เกตุแก้ว. (2560). ความสุขในการทำงานของข้าราชการไทย. วารสารสารสนเทศ, 16(2), 43-51.

มนธิรา สร้อยศรี. (2564). การมีส่วนร่วมในการบริหารแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณของบุคลากร โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี: โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรญา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, นพรัตน์ ชัยเรือง และ มะลิวัลย์ โยธารักษ์. (2563). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(3), 126-138.

วรุตม์ ทวีศรี. (2565). วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในองค์การ. วารสารการบริหารจัดการและ นวัตกรรมท้องถิ่น, 4(2), 47-53.

สำนักบริหารกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. (2566). ประกาศกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เรื่อง นโยบายการบริหารทรัพยากร บุคคล. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.

Denison, D. R., Janovics, J., Young, J., & Cho, H. J. (2006). Diagnosing organizational cultures: Validating a model and method. Documento de trabajo, 1(1), 1-39.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Manion, J. (2003). Joy at work!: Creating a positive workplace. The Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-659.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21