ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของบุคลากรกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
คำสำคัญ:
ความรู้ความเข้าใจ, กรอบธรรมาภิบาล, ข้อมูลภาครัฐบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของบุคลากรกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านภาวะผู้นำที่มีผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (4) เพื่อศึกษาปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ส่วนกลาง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิโดยอาศัยสัดส่วน และการสุ่มอย่างง่ายแยกตามหน่วยงานภายใน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 159 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติค่าที (t-test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามแบบของเพียร์สัน และค่าค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ระดับความรู้ความเข้าใจที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของบุคลากรกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว อยู่ในระดับมาก เปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ไม่แตกต่างกัน ปัจจัยภาวะผู้นำมีผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ พบว่า ปัจจัยภาวะผู้นำไม่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ พบว่า ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการเปิดรับความแตกต่างมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2566). ภารกิจ อำนาจหน้าที่. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.dwf.go.th/contents/151.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
กรรณิการ์ อุกฤษต์. (2564). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสวัสดิการของบุคลากรกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
เกรียงศักดิ์ แสงสว่าง. (2565). ภาวะผู้นําและวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(1), 9–17.
ธรรมนิติ. (2565). “การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” คืออะไรและมีผลทางกฎหมายอย่างไร? สืบค้น 22 เมษายน 2566. จาก https://www.dharmniti.co.th/electronic-signature/.
รัชพร วงศาโรจน์. (2564). การปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นองค์กรดิจิทัล. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566. จาก https://alro.go.th/th/alro/news-activity/article-category.
ราชกิจจานุเบกษา. (2563). 31 มีนาคม. ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 74 ง 47.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน). (2561). การกำกับดูแลข้อมูล DATA GOVERNANCE FRAMEWORK. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน). (2563). แผนปฏิบัติราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2563 – 2565. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). Big Data ในภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
อนันต์ กนกศิลป์. (2565). ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องดำเนินการภายใต้ พรบ. PDPA. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A Taxonomy for Learning Teaching and Assessing Abridged Edition. Boston, MA: Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.