ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ ปวรวรรฒน์ นิสิตปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศุภพัชร์พิมล สิมลี ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศรีรัฐ โกวงศ์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์กร, ลักษณะงาน, ประสบการณ์ในการทำงาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำนวน 335 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, F-test (One -Way Analysis of Variance) ความแตกต่างรายคู่ LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามแบบเพียร์สัน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อทำงานให้องค์กรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ความเชื่อมั่นและยอมรับในเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะดำรงฐานะสมาชิกขององค์กรต่อไป ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า อายุ อายุราชการแตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลในด้านเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง รายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะงาน มีความผูกพันต่อองค์กรในเชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงาน มีความผูกพันต่อองค์กรในเชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญ

References

กรกฎ แน่นหนา และ ปิยากร หวังมหาพร. (2564). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. วารสารด้านการ บริหารรัฐกิจและการเมือง, 10(1), 109-123.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2566). ข้อมูลสำคัญเพื่อการบริหารงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกลุ่มงานวิชาการและสถิติข้อมูลด้านแรงงานกองนโยบายและแผนงานประจำปี 2566. กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2566). ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2566). วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนปฏิบัติราชการ. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก www.labour.go.th/index.php/about/about-m5.

ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2537). สถิติเพื่อการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เดือนเพ็ญ สาสังข์ และ ศรีรัฐ โกวงศ์ (2566). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. วารสารสหวิทยาการวิจัย:ฉบับบัณฑิตศึกษา, 12(1), 76-87.

ธนวินท์ ทับสวัสดิ. (2562). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ศูนย์สนับสนุนและบริการอุปกรณ์ไปรษณีย์. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).

ธวัชชัย งามสันติวงษ์. (2543). หลักการและวิธีการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เซ็นจูรี่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

โมรยา วิเศษศรี, สโรชินี ศิริวัฒนา และ วรพล เพ็ชรภูผา. (2564). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(1), 52-65.

รมิตา ประวัติ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรวรรณ วัฒนศิริ. (2564). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร กรมทางหลวง. HRD JOURNAL, 12(2), 8-12.

สันติชัย อินทรอ่อน. (2550). ความผูกพันของพนักงาน. วารสารทรัพยากรมนุษย์, 3(1), 3-13.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper & Row.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21