การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนฟาร์มผักออร์แกนิค ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ณัฐวรรณ ฉิมสุข นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • สมหมาย อุดมวิทิต ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ผักออร์แกนิค, ฟาร์มเกษตรอินทรีย์, พฤติกรรมผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับการบริโภคผักออร์แกนิค ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และ (2) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนฟาร์มผักออร์แกนิค ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และสัมภาษณ์เกษตรกรที่ปลูกผักออร์แกนิค โดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน ผลการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคพบว่าด้านการตลาด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกซื้อผักออร์แกนิคประเภทผักสลัดตามท้องตลาดทั่วไป โดยจะซื้อผักออร์แกนิคสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักออร์แกนิค 101-200 บาทต่อครั้ง และซื้อผักทั่วไป 0-100 บาทต่อครั้ง ซึ่งผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการซื้อ คือ ครอบครัว และจะเลือกซื้อผักออร์แกนิคซ้ำ พร้อมกับแนะนำผู้อื่น เนื่องจากผักออร์แกนิค มีความปลอดภัย และไร้สารตกค้าง นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับปัจจัยทางการตลาดในด้านราคามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด ส่วนผลการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของการลงทุนฟาร์มผักออร์แกนิค พบว่า โครงการจะมีระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 2 ปี 6 เดือน 5 วัน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 1,454,571.33 บาท อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 28.76 และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.883 ในส่วนผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ พบว่าหากผลผลิตและราคาผลผลิตลดลง และราคาวัสดุและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.28 และร้อยละ 96.68 ตามลำดับ จะทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ และเมื่อราคาวัตถุดิบและเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 100 จะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการ

References

ชวิศา ตงศิริ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกผักเกษตรอินทรีย์ ปลอดสาร และใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

นรินทร์กานต์ ประเสริฐคงแก้ว. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนปลูกสตรอว์เบอร์รี ปลอดสารเคมี ในจังหวัดเชียงราย. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

นฤมล แสงสว่าง. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลย. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). ระบบตรวจสอบรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์. 1 สืบค้น ตุลาคม 2566. จาก http://organic.doa.go.th/homepage.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper. & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21