พฤติกรรมและการให้ความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดของเจ้าของคอนโดมิเนียม ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี)

ผู้แต่ง

  • สิตาพร สิงหเสนี นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • โสมสกาว เพชรานนท์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ณัฏฐณิชา ฉายรัศมี ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, คอนโดมิเนียม, การตลาด, รถไฟฟ้าสายสีส้ม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) และ (2) ศึกษาการให้ระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) ของประชาชนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีส้มรอการเปิดใช้บริการ ทำให้พื้นที่บริเวณโดยรอบตลอดเส้นทางมีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้เป็นเจ้าของห้องชุดทั้งหมด 385 ตัวอย่าง จากคอนโดมิเนียม 13 โครงการ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้มในช่วงเดือนตุลาคม ถึงพฤศจิกายน 2566 โดยใช้สถิติไคสแควร์และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจซื้อด้วยตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัยในชีวิตประจำวัน เนื่องจากจะสะดวกในการเดินทางถ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเปิดใช้ และเข้าถึงข้อมูลทางโซเชียลมีเดียช่องทางยูทูป โดยมีอินฟูเอนเซอร์ที่รีวิวคอนโดมิเนียมเป็นแรงจูงใจในการซื้อ งบประมาณในการซื้อคอนโดมิเนียมประมาณ 2–3 ล้านบาท สำหรับพื้นที่ใช้สอย 34–40 ตารางเมตร แบบ 1 ห้องนอน กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับปัจจัยทางการตลาดด้านทำเลที่ตั้งโครงการมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ กายภาพ ราคา กระบวนการบริการ บุคลากร และการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันจะซื้อคอนโดมิเนียมโดยให้ความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา การส่งเสริมการตลาด กระบวนการบริการ และบุคลากรที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการคอนโดมิเนียมควรเลือกที่ตั้งที่อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า โดยเน้นระบบรักษาความปลอดภัย และควรมีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะของพนักงานขายเพิ่มเติม

References

จุฑาทิพย์ บำเพ็ญบุญ. (2559). ปัจจัยกำหนดราคาคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ธนากร วงศ์รัตนวิจิตต์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

บุษกร หวังดี. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ปี 2563. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้า).

ฝ่ายวิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2566). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2567-2569 :ธุรกิจที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/real-estate/housing-in-bmr/io/housing-in-bmr-2024-2026.

ภานุพันธ์ ทับทิม. (2562). การตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าในอนาคต. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สัญชัย ธนะวิบูลย์ชัย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สุภารัตน์ คามบุตร และ ชาคริต ศรีทอง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงของผู้บริโภค ในเขตนนทบุรี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 7-16.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

สิงหเสนี ส., เพชรานนท์ โ., & ฉายรัศมี ณ. (2024). พฤติกรรมและการให้ความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดของเจ้าของคอนโดมิเนียม ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี). วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 243–254. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275655