การเสริมสร้างสมรรถนะหลักของข้าราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง

ผู้แต่ง

  • สรรสนี มาตรศรี นิสิตปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศุภพัชร์พิมล สิมลี อาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • เกวลิน ศีลพิพัฒน์ อาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สมรรถนะหลัก, ข้าราชการ, กรมโยธาธิการและผังเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างสมรรถนะหลักของข้าราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางสมรรถนะหลักของข้าราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นการศึกษาภาคสนามเป็นสำคัญ และสรุปผลเชิงวิเคราะห์และพรรณนาอย่างละเอียด จากผู้ใหข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนระดับสูง (อำนวยการสูง) จำนวน 2 คน ข้าราชการพลเรือนระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 1 คน และข้าราชการพลเรือนระดับชำนาญการ จำนวน 2 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้าราชการมีวางแผนและวางเป้าหมายของงานว่า ประสงค์ต่อผลสัมฤทธิ์ด้านใดบ้างที่จะสามารถตอบสนองต่อผลการทำงานอันจะนำไปสู่ผลสำเร็จ มีการผลงานอย่างต่อเนื่อง มีการให้บริการปรชาชนด้วยความพึงพอใจ ไม่ให้เกิดความเดือดร้อน มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นให้ได้รับสิ่งที่ดีและเกิดประโยชน์ มีการหมุนเวียนการทำงาน เพื่อให้ได้รับความรู้ที่เกิดจากการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญในการทำงานและสายอาชีพ และข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต เสียสละ ไม่เลือกปฏิบัติ ถูกต้องตามกฎหมาย และวินัยข้าราชการ เพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้หลายฝ่าย หลายด้าน และหลายหน่วยงาน ทั้งแบบทางการและไม่ทางการเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย 2) แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะหลักของข้าราชการ คือ การกำหนดสมรรถนะหลักในเชิงนโยบาย การจัดอบรม การจัดการความรู้ และการส่งเสริมเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ นอกจากนี้ ข้าราชการทุกตำแหน่งจะต้องมีการพัฒนาตนเองตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ ซึ่งสมรรถนะหลักที่กรมกำหนดไว้รวมถึงการทำงานให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา และสามารถสร้างบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงขึ้นอันจะนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2566). แผนการจัดการความรู้ของกรมโยธาธิการและผังเมือง (DPT KM Action Plan) ประจำปี 2566. กรุงเทพฯ: กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์.

กุลชญา ลอยหา, สุชาดา นาสา, จำลอง วงศ์ประเสริฐ, เด่นดวงดี ศรีสุระ, มณฑิชา รักศิลป์, ชนฏ์พงศ์ เคลือศิริ, ภัทรภร เจริญบุตร และ รมณียากร มูลสิน. (2560). การเสริมสร้างศักยภาพบทบาทของนักจัดการสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 24(1), 1-13.

จันทร์ทา มั่งคำมี. (2562). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง)

ฐานิศร์ มณีนารถ. (2564). สมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงแรงงาน ประจำจังหวัดอ่างทอง. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี)

ณัฏฐ์นรินทร์ สุขลิ้ม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการในสังกัดราชการส่วนภูมิภาคประจำจังหวัดตรัง. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

วิโรจน์ก่อสกุล. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยารามคำแหง.

สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2562). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์คืออะไร?. สืบค้นจาก http://www.ocsc.go.th/homepage/Page6/rbmth.html.

Manzoor, S. R., Ullah, H., Hussain, M., & Ahmad, Z. M. (2011). Effect of teamwork on employee performance. International Journal of Learning and Development, 1(1), 110-126.

McAllister, S. (2006). Competency based assessment of speech pathology student’ performance in The workplace. (Doctor of Philosophy, The University of Sydney).

Sherman, G. (2004). Competency based HRM: A strategic resource for competency mapping. New York: McGraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

มาตรศรี ส., สิมลี ศ., & ศีลพิพัฒน์ เ. (2025). การเสริมสร้างสมรรถนะหลักของข้าราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 7(1), 393–404. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275677