ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อคุณภาพการบริการแผนกงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ภัทรวรินทร์ เดชาธรอมร นิสิตปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศุภพัชร์พิมล สิมลี อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • เกวลิน ศีลพิพัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, แผนกงานผู้ป่วยนอก, โรงพยาบาลหัวหิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อคุณภาพการบริการแผนกงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหัวหิน (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อคุณภาพการบริการแผนกงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหัวหิน จำแนกตามความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการของแผนกงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-methods research) กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่ได้รับบริการเกี่ยวกับคุณภาพการบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การเก็บแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม (t-test) และการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (one way ANOVA) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ที่มารับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลหัวหิน พบว่า มีผู้ที่มารับบริการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลหัวหินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อคุณภาพการบริการแผนกงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ปัจจัยด้านอายุ อาชีพ และรายได้ มีผลต่อความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการของแผนกงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหัวหิน พบว่าปัญหาหลักคือระยะเวลารอคอยที่ยาวนาน เนื่องจากผู้รับบริการจำนวนมาก ระบบคัดกรองและซักประวัติล่าช้า รวมถึงเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและการชี้แจงขั้นตอนบริการไม่ชัดเจน ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายเลือกใช้บริการที่อื่น จำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการและเพิ่มทรัพยากรเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการบริการ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางการปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ฉบับปรับปรุง วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2565. สืบค้น 15 กันยายน 2566. จาก https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=162.

ธวัช ทองน้อย และ อรวรรยา กระสังข์. (2564). การลดความแออัดในโรงพยาบาลและระยะเวลารอคอยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลปากช่องนานา. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 63(4), 822-835.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พิณทิพ ทัศนา. (2556). ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลพระปกเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

โรงพยาบาลหัวหิน. (2560). ประวัติโรงพยาบาลหัวหิน. สืบค้น 15 กันยายน 2566. จาก https://healthserv.net/โรงพยาบาลหัวหิน-hospd20038.

วันเพ็ญ เหลืองนฤทัย. (2561). ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อมาตรฐานการบริการของหน่วยงานกายภาพบําบัด โรงพยาบาลหัวหิน. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 3(1), 72-84.

วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, วรณัน วิทยาพิภพสกุล, วริศา พานิชเกรียงไกร, วลัยพร พัชรนฤมล และ แอนน์ มิลส์. (2565). การพัฒนาระบบสุขภาพในประเทศไทย: รากฐานสำคัญของการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

เดชาธรอมร ภ., สิมลี ศ., & ศีลพิพัฒน์ เ. (2024). ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อคุณภาพการบริการแผนกงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 425–438. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275678