การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสาธงหิน จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ, การรับรู้สุขภาวะด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสาธงหิน จังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสาธงหิน จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยนำ และปัจจัยเสริม และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเอื้อกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาล ตำบลเสาธงหิน จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสาธงหิน รวมทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ 200 คน และแบบโควต้า 200 คน โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบไคสแควร์ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ภายหลังด้วยวิธีการทดสอบของฟิชเชอร์ ผลการศึกษาพบว่าระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยนำและปัจจัยเสริมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว รูปแบบของบ้าน ที่อยู่อาศัย ยานพาหนะที่ใช้ อาชีพที่ทำก่อนเกษียณ รายได้ปัจจุบันต่อเดือน และการรับรู้สุขภาวะด้านสุขภาพของตนเอง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ ปัจจัยเอื้อ การดูแลจากครอบครัวและการดูแลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการรับรู้สุขภาวะด้านสุขภาพให้ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ ให้แก่ผู้สูงอายุและสังคมในวงกว้างต่อไป
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.dop.go.th/th.
กรรณิกา ศรีภูมี และ มนสิชา เพชรานนท์. (2565). พฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุในเขตเมือง. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 21(2), 129-143.
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถิติสาธารณสุข 2565. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566. จาก https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2023/11/Hstatistic65.pdf.
งานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลตำบลเสาธงหิน. (2566). สถิติประชากร. สืบค้น 7 สิงหาคม 2566. จาก https://sth.go.th/public/list/data/index/menu/1168.
เทศบาลตำบลเสาธงหิน. (2566). การประเมินรับรองเมืองสุขภาพดี. สืบค้น 25 สิงหาคม 2566. จาก https://www.facebook.com/share/p/1KPjh7ijM7VTuA9B/?mibextid=oFDknk.
พัชราภรณ์ พัฒนะ. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดสระบุรี. (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
มันโซร์ ดอเลาะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนใต้ กรณีศึกษา: ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).
รัถยานภิศ พละศึก และ เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2560). ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 135-150.
ริรร์ พิมมานุรักษ์, ปัณณทัต บนขุนทด และ ถาวรีย์ แสงงาม. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุบ้านหนองโพรง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา” (น. 863-872). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
วัชราภรณ์ จันทนุกูล. (2560). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 447-459.
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2565). ระเบียบวิธีวิจัย ทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรันยา สถิตย์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชนครินทร์, 13(30), 133-141.
ศันสนีย์ โอถาวรวงษ์. (2565). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวกุญแจ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2563). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. ใน ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 4 ประจำปี 2562 วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2563 (น. 498-505). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.