การศึกษาความเป็นไปได้ของการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยฝูงและขังคอกของเกษตรกร จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ธนศักดิ์ คำกรฤาชา นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ธนารักษ์ เหล่าสุทธิ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความเป็นไปได้ทางการตลาด, ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค, ความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความเป็นไปได้ทางการตลาดของการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยฝูงและขังคอก (2) เปรียบเทียบความเป็นไปได้ทางเทคนิคของการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยฝูงและขังคอก และ (3) เปรียบเทียบความเป็นไปได้ทางการเงินของการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยฝูงและขังคอก การวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 10 คน การศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาด พบว่า การวิเคราะห์แบบจำลองเพชร (Diamond Model) ของการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยฝูงและขังคอก ได้คะแนนเฉลี่ยที่ร้อยละ 49.23 และ 62.31 ตามลำดับ SWOT Analysis พบว่า จุดแข็งของการเลี้ยงโคเนื้อแบบขังคอกได้เปรียบด้านอาหารคุณภาพสูง จุดอ่อนของการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยฝูงเสียเปรียบด้านแหล่งอาหารไม่เพียงพอ โอกาสและอุปสรรคของการเลี้ยงโคเนื้อทั้ง 2 แบบเหมือนกัน TOWS Matrix พบว่า กลยุทธ์เชิงรุกของการเลี้ยงโคเนื้อแบบขังคอกได้เปรียบด้านปริมาณเนื้อ กลยุทธ์เชิงแก้ไขของการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยฝูงเสียเปรียบด้านวิธีเร่งปริมาณเนื้อ กลยุทธ์เชิงป้องกันและกลยุทธ์เชิงรับของการเลี้ยงโคเนื้อทั้ง 2 แบบเหมือนกัน การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคพบว่า สิ่งก่อสร้างในโครงการเลี้ยงโคเนื้อแบบขังคอกมีความแข็งแรงกว่า พันธุ์โคเนื้อเป็นพันธุ์ไทยผสมชาร์โรเล่ส์เหมือนกัน การเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยฝูงเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง และการเลี้ยงโคเนื้อแบบขังคอกเป็นการเลี้ยงแบบจำกัดพื้นที่ และอุปกรณ์เครื่องมือของการเลี้ยงแบบขังคอกใช้เครื่องจักรมากกว่า การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินของการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยฝูงและขังคอกพบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่า 437,311.69 บาท และ 1,609,443.98 บาท ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่า 1.19 เท่า และ 1.52 เท่า ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนภายในโครงการมีค่าร้อยละ 35.33 และ 43.88 ตามลำดับ ระยะเวลาคืนทุนคือ 2 ปี และ 1 ปี 6 เดือน ตามลำดับ ค่าความเปลี่ยนแปลงด้านต้นทุนมีค่าร้อยละ 18.7 และ 51.6 ตามลำดับ และด้านผลตอบแทนมีค่าร้อยละ 15.8 และ 34 ตามลำดับ

References

ณฤทธิ์ ไทยบุรี, สุนีย์ ตรีมณี, ประจักร เทพคุณ และ สมนึก ลิ่มเจริญ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการเลี้ยงโคเนื้อปล่อยฝูงและแบบขังคอกของเกษตรกรในจังหวัดนราธิวาส. Princess of Naradhiwas University Journal, 12(1), 277-288.

นภาพร เวชกามาม, ธีระรัตน์ ชิณแสน และ วันทนีย์ พลวิเศษ. (2560). การผลิตและการจัดการโคเนื้อแบบขังคอกและแบบปล่อยฝูงของเกษตรกร อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. แก่นการเกษตร, 45(1), 1476-1482.

รสดา เวษฎาพันธุ์ และ สุมาลี สันติพลวุฒิ. (2554). แนวทางการพัฒนา OTOP ในเขตภาคกลาง. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50 (น. 224-231). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2562. สืบค้น 8 สิงหาคม 2563. จาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2563/yearbook62edit.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

คำกรฤาชา ธ., & เหล่าสุทธิ ธ. (2024). การศึกษาความเป็นไปได้ของการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยฝูงและขังคอกของเกษตรกร จังหวัดนครพนม. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 303–316. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275758