การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจระดับซีรั่ม PIVKA-II ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งตับ
คำสำคัญ:
การประเมินทางเศรษฐศาสตร์, การตรวจระดับซีรั่ม PIVKA-II, ผู้ป่วย, โรคมะเร็งตับบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าเศรษฐศาสตร์ในการตรวจระดับซีรั่ม Alpha-Fetoprotein (AFP) ร่วมกับ PIVKA-II โดยวิธีต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost-Utility Analysis) เปรียบเทียบกับกรณีไม่มีการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว ด้วยแบบจำลองมาร์คอฟ (Markov Model) และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงานวิจัยเชิงประจักษ์ในอดีตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ควบคู่กับการประเมินผลกระทบของการตรวจดังกล่าวต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทยในด้านการเข้าถึงและความครอบคลุม และการจัดสรรงบประมาณที่เกี่ยวข้อง ผลการประเมินความคุ้มค่า พบว่า กรณีที่คนไข้ไม่ได้ตรวจเฝ้าระวัง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อผู้ป่วยจะอยู่ที่ 697,945.37 บาท/คน โดยมีการเพิ่มขึ้นของปีชีวิต (LYG) เท่ากับ 16.68 ปี และคุณภาพชีวิตปรับค่าได้ (QALY) เท่ากับ 11.22 ในทางตรงกันข้าม หากมีการตรวจเฝ้าระวัง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อผู้ป่วยจะลดลงเหลือ 258,505.77 บาท โดย LYG เพิ่มขึ้นเป็น 20.27 ปี และ QALY เพิ่มขึ้นเป็น 14.36 ปี การตรวจคัดกรองช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 439,439.60 บาทต่อคน เพิ่ม LYG ได้ 3.59 ปี และปรับปรุง QALY ได้ 3.14 อัตราความคุ้มค่าในการเพิ่มค่าใช้จ่าย (ICER) คือ -139,926.85 บาทต่อ QALY ทำให้เป็นวิธีที่คุ้มค่าตามเกณฑ์ปี 2021 ของประเทศไทยที่ตั้งไว้ที่ 160,000 บาท/QALY การวิเคราะห์ความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรสำคัญ ยืนยันว่าการตรวจเฝ้าระวังยังคงมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้การประเมินผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข พบว่า มีระดับการเข้าถึงและความครอบคลุมในการให้บริการแก่ประชากรอายุ 40-99 ปี รวมทั้งสิ้น 23,920,647 คน มีค่าใช้จ่ายงบประมาณรวม 23,442,234,060 บาทต่อปี และโรงพยาบาลระดับอำเภอและจังหวัด 91 แห่ง ที่คาดว่าจะให้บริการตรวจ AFP และ PIVKA-II แก่ประชากรที่มีสิทธิ์ประมาณ 262,865 คนต่อปีต่อโรงพยาบาล
References
กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566. จาก https://spd.moph.go.th/wpcontent/uploads/2022/11/Hstatistic64.pdf.
กองบริหารการสาธารณสุข. (2567). ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2566 ณ มีนาคม 2567 อุทธรณ์. สืบค้น 28 กรกฎาค 2567. จาก https://phdb.moph.go.th/main/index/downloadlist/57/0.
คณะอนุกรรมการด้านการป้องกันโรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส. (2566). ยุทธศาสตร์กำาจัดโรคไวรัสตับอักเสบ พ.ศ. 2565-2573 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้น 17 มิถุนายน 2567. จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1380720230302102651.pdf.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2567). ข้อมูลเกี่ยวกับลงทะเบียนประชากร 02.รายงานจำนวนประชากรจำแนกตามเพศและช่วงอายุ เดือนพฤษภาคม งบประมาณ 2567. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567. จาก https://ucinfo.nhso.go.th/ucinfo/RptRegisPop-2.
อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ, กรกพร ใจสถาพร, ชนินทร์ อภิวาณิชย์, ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์, ณัฏฐิญา ค้าผล, น้ำฝน ศรีบัณฑิต, วุฒิ สุเมธโชติเมธา, ศิริรัตน์ ตันสกุล, อนันต์ กรลักษณ์, อรุณี ไทยะกุล, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, อารีย์ ประสิทธิพยงค์ และ เสาวคนธ์ ศุกรโยธิน. (2551). ความคุ้มค่าของการใช้แอลฟาฟีโตโปรตีนร่วมกับอัลตร้าซาวด์ในการคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยตับอักเสบบีเรื้อรัง. วารสารกรมการแพทย์, 37(2), 81-89.
Nan, Y., Garay, O. U., Lu, X., Zhang, Y., Xie, L., Niu, Z., & Chen, W. (2024). Early-stage hepatocellular carcinoma screening in patients with chronic hepatitis B in China: a cost–effectiveness analysis. Journal of Comparative Effectiveness Research, 13(4), e230146.
OECD. (2024). Rethinking Health System Performance Assessment: A Renewed Framework, OECD Health Policy Studies. Paris: OECD Publishing.
Omata, M., Cheng, A. L., Kokudo, N., Kudo, M., Lee, J. M., Jia, J., Tateishi, R., Han, K. H., Chawla, Y. K., Shiina, S., Jafri, W., Payawal, D. A., Ohki, T., Ogasawara, S., Chen, P. J., Lesmana, C. R. A., Lesmana, L. A., Gani, R. A., Obi, S., Dokmeci, A. K., & Sarin, S. K. (2017). Asia–Pacific clinical practice guidelines on the management of hepatocellular carcinoma: a 2017 update. Hepatology international, 11(4), 317-370.
Tantai, N., Chaikledkaew, U., Tanwandee, T., Werayingyong, P., & Teerawattananon, Y. (2014). A cost-utility analysis of drug treatments in patients with HBeAg-positive chronic hepatitis B in Thailand. BMC Health Services Research, 14, 1-13.
World Health Organization. (2023). World health statistics 2023: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Retrieved 4 June 2023. from https://www.who.int/publications/i/item/9789240074323.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.