ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วศิน ชาญพิทยกิจ นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ธนา สมพรเสริม ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ปริมาณสินเชื่อ, สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้, ธนาคารพาณิชย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะทั่วไปของสินเชื่อและสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยประกอบไปด้วยปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกธนาคาร การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยคือ งบการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 4 ธนาคาร ประกอบไปด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2556 ถึง ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2565 ระยะเวลาทั้งหมดรวม 10 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์ถดถอย Fixed effect และ Random effect ผลการศึกษาพบว่า สินเชื่อและสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ มีดังนี้ อัตราการเติบโตของสินเชื่อ และ อัตราการว่างงาน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อัตราการเติบโตผลผลิตมวลภายในประเทศ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ สำหรับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนสินเชื่อรวมต่อเงินฝาก อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้รวม ไม่มีความสัมพันธ์ในกับปริมาณสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ดังนั้น อัตราการเติบโตของสินเชื่อ อัตราการว่างงาน อัตราการเติบโตผลผลิตมวลภายในประเทศ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จึงเป็นสิ่งที่ธนาคารควรให้ความสำคัญ

References

กิตติศักดิ์ เคลือบหิรัญ. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ชมภูนุช วิเศษศักดิ์ และ ศิริขวัญ เจริญวิริยะกุล. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารเฉพาะกิจในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 14(2), 401-412.

ชัชวลัย ใจธีรภาพกุล. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ชุติมา คำรุ้ง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารออมสินในเขตอุดรธานี 1. ใน การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยรังสิต (น. 1237-1248). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2551). พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.bot.or.th/th/laws-and-rules/bot-takes-responsibilities-and-other-relevant-laws-and-regulations/law05.html#accordion-5c045db610-item-cebd65b327.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). FI_NP_008 ยอดคงค้างสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จำแนกตามการจัดชั้น. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566. จาก https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=829&language=TH.

พิมพ์สิริ ไชยมนัส. (2559). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารทั้งหมดในประเทศไทย (จำแนกตามประเภทธุรกิจ). (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2566). เอกสารเผยแพร่ของบริษัทที่ออกและเสนอขายหลักทรัพย์. สืบค้น 12 มกราคม 2566. จาก https://market.sec.or.th/public/idisc/th/FinancialReport/FS-0000001104/20020101-20221231.

Ekanayake, E. M. N. N., & Azeez, A. A. (2015). Determinants of non-performing loans in licensed commercial banks: Evidence from Sri Lanka. Asian Economic and Financial Review, 5(6), 868-882.

Foglia, M. (2022). Non-performing loans and macroeconomics factors: The Italian case. Risks, 10(1), 21.

Rajha, K.S. (2017). Determinants of non-performing loans: Evidence from the Jordanian banking sector. Journal of Finance and Bank Management, 4(1), 125–136.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ชาญพิทยกิจ ว., & สมพรเสริม ธ. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 439–452. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275896