ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าผักและผลไม้ในตลาดสดติดดาว
คำสำคัญ:
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค, การเลือกซื้อสินค้าผักและผลไม้, ตลาดสดติดดาวบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความรู้และพฤติกรรม การเลือกสินค้าผักและผลไม้ของผู้บริโภคในตลาดสดติดดาว (2) ศึกษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าผักและผลไม้ ในตลาดสดติดดาว และ (3) แบ่งกลุ่มผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าผักและผลไม้ ในตลาดสดติดดาว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริโภคที่เลือกซื้อผักและผลไม้ในตลาดสดติดดาว เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย และการแบ่งกลุ่มด้วยเทคนิคการวิเคราะห์กลุ่ม Cluster analysis ด้วยวิธี K-mean Cluster Analysis ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุระหว่าง 21 -30 ปี การศึกษาปริญญาตรี สถานภาพโสด อาชีพพนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ย 30,862.3 บาท ซึ่งผู้บริโภคมีระดับความรู้ในด้านตรารับรองมาตรฐานที่ดี มีทัศนคติความเชื่อมั่นในระดับมาก เมื่อทำการแบ่งกลุ่มสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 กลุ่มที่มีทัศนคติความเชื่อมั่นมาก และมีโอกาสซื้อมากที่สุด จำนวน 239 คน และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่มีทัศนคติต่อความเชื่อมั่นน้อย จำนวน 161 คน เมื่อพิจารณาด้านความรู้และการพบเห็นตรารับรองมาตรฐาน พบว่า กลุ่มที่ 1 มีประสบการณ์พบเห็นตรารับรองมาตรฐาน สามารถแยกระบบการเกษตรของแต่ละตรารับรองได้ และสามารถบอกความหมายได้ถูกต้องของระบบการเกษตรได้มากกว่ากลุ่มที่ 2 ผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการตลาด ให้ตระหนักถึงคุณภาพของสินค้าที่ขาย การปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยและความสะอาดของตลาดสด โดยเฉพาะการที่ตลาดสดมีมาตรฐานการจัดการที่ดี เช่น การตรวจสอบคุณภาพและราคาของสินค้าที่ขายภายในตลาดอย่างสม่ำเสมอ จะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นของผู้โภคที่มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานให้แก่ตลาดสดภายในประเทศไทยให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการรับรองมาตรฐานให้มีการสร้างการรับรู้ด้านตรารับรองมาตรฐานให้ทั่วถึง
References
กรมการค้าภายใน. (2559). ตลาดสดวิถีไทย: เพื่อก้าวใหม่ที่มั่นคง กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์. สืบค้น 3 มกราคม 2566. จาก https://www.dit.go.th/Content.aspx?m=101&c=2317.
กัลยาณี กุลชัย และ พีรชัย กุลชัย. (2549). พฤติกรรม ทัศนคติ และปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผักอินทรีย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร สาขามนุษยศาสตร์ สาขาคหกรรมศาสตร์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 (น. 347-354). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ชัชวาลย์ เผ่าเพ็ง, พเยาว์ ผ่อนสุข และ สุลัดดา พงษ์อุธา. (2564). การรับรู้ ความเข้าใจ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคผักสดต่อตราระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 39(1), 74-81.
ทิพาพร สาโรวาท. (2558). การแบ่งกลุ่มผู้ซื้อผักเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ปัจจัยระดับการให้ความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อ. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้า).
ไทยรัฐออนไลน์. (2561). กทม.ให้ 50 เขต ตรวจตลาด รายงานผลภายใน 5 มี.ค. ไทยรัฐ. สืบค้น 3 มกราคม 2566. จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1211462.
ปริชาติ แสงคำเฉลียง และ เพียรศักดิ์ ภักดี. (2559). อิทธิพลของการรับรู้และความรู้เกี่ยวกับตรารับรองสินค้าเกษตรที่มีผลต่อการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดขอนแก่น. Khon Kaen Agriculture Journal, 44(2), 247-256.
สันติ แสงเลิศไสว. (2560). โครงการทัศนคติและความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคต่อสินค้าข้าวบรรจุถุง ที่ได้รับการรับรองการค้าที่เป็นธรรมในรูปแบบเฉพาะของประเทศไทย (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). เปิดผลศึกษาพฤติกรรมบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ แนะรุกตลาดให้เข้าถึงง่ายเพิ่มสัดส่วนผู้บริโภคในประเทศ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา). สืบค้น 3 มกราคม 2566. จาก https://shorturl.asia/rKYDm.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.