การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: พฤติกรรมและความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • พัชรี ปรีเปรมโมทย์ กลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจและสาขาวิชาการจัดการและโลจิสติกส์และการค้าชายแดน คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • เดชา พละเลิศ กลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจและสาขาวิชาการจัดการและโลจิสติกส์และการค้าชายแดน คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • นรินทร์ เจริญพันธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • ธนพล พุกเส็ง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • กัลยารัตน์ เชี่ยวชาญ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว, อาหารอัตลักษณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรม และการรู้จักอาหารอัตลักษณ์ของจังหวัดจันทบุรีของนักท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์ความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับอาหารอัตลักษณ์ และการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดจันทุบรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินมายังจังหวัดจันทบุรี จำนวน 515 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อมาพักผ่อน ท่องเที่ยว และฮันนีมูน ซึ่งสืบค้นข้อมูลการท่องเที่ยวจากจากอินเตอร์เน็ตและสื่อโซเชียลมีเดีย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมท่องเที่ยวแบบ 2 วัน 1 คืน โดยเลือกเดินทางมาในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และเสียค่าใช้จ่ายในการเที่ยวแต่ละครั้งเท่ากับ 500-1,000 บาท/คน นอกจากนั้นยังพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักอาหารอัตลักษณ์และอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดจันทบุรี ทั้งหมวดของอาหารคาว เครื่องจิ้ม อาหารว่าง ของหวาน และเครื่องดื่ม จากการศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับอาหารอัตลักษณ์ และการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดจันทุบรี พบว่า นักท่องเที่ยวมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าอาหารอัตลักษณ์จันทบุรีเฉลี่ย 284.15 บาท/คน/มื้อ ส่วน ในขณะที่มีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าอาหารที่สะอาดและมีสุขอนามัย โดยเป็นร้านที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเฉลี่ย 290.11 บาท/คน/มื้อ นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวตามแนวทางของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดจันทบุรีแบบ 2 วัน 1 คืน เฉลี่ยเท่ากับ 3,639.62 บาท/คน

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3. สืบค้น 25 ธันวาคม 2566. จาก https://anyflip.com/zzfck/hkzv/basic.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2567). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2566. สืบค้น 25 ธันวาคม 2566. จาก https://www.mots.go.th/news/category/705.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ครองช่าง.

คัมภีรพรรณ จักรบุตร และ ชัยธวัช ศิริบวรพิทักษ์. (2566). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(2), 131-143.

ชวรินทร์ สุดสวาท, อติคุณ เลรามัญ, นภัสนันท์ วินิจวรกิจกลุ, สุประภา สมนักพงษ์ และ อนัญญา รัตนประเสริฐ. (2564). การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นบ้านล้านนา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(1), 405-4-17.-

ญาดา ชอบทำดี และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2562). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 403-413.

ธนัชพร นันทาภิวัธน์. (2564). พลิกท่องเที่ยวไทย ให้ฟื้นได้อย่างทรงพลัง (ตอนที่ 2). สืบค้น 25 ธันวาคม 2566. จาก https://medias.thansettakij.com/media/pdf/2021/1614589785.pdf.

เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: ศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(1), 103-116.

วิฆเนศวร ทะกอง และ อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล. (2566). การปรับตัวด้านอัตลักษณ์อาหารท้องถิ่นจันทบุรีในบริบทการท่องเที่ยว. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(2), 48-68.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2564). อิทธิพลของภาพลักษณ์และคุณค่าตามการรับรู้ของแหล่งท่องเที่ยวต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 16(3), 163-181.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2564). สัมผัสวัฒนธรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร. สืบค้น 25 ธันวาคม 2566. จาก https://www.dasta.or.th/th/article/371.

อรรถกฤต จันทร, ภูเกริก บัวสอน และ ชุติน แก้วนพรัตน์. (2566). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยเพื่อ รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวโดยลำพัง (Solo Travel). วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 16(1), 88-111.

Green, G. P., & Dougherty, M. L. (2008). Localizing linkages for food and tourism: Culinary tourism as a community development strategy. Community Development, 39(3), 148-158.

Groves, A. M. (2001). Authentic British food products: A review of consumer perceptions. International Journal of Consumer Studies, 25(3), 246-254.

Hall, C. M., & Mitchell, R. (2007). Gastronomic tourism: Comparing food and wine tourism experiences. In Niche tourism (pp. 73-88). New York: Routledge.

Rasan, D., Laskarin Azic, M., & Mikinac, K. (2024). Gastronomy and wine tourism transformation towards resilient destinations. Retrieved 2 June 2024. from https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/TR-08-2023-0605/full/html?skipTracking=true.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21