ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับสมรรถนะของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, สมรรถนะของครู, ครูผู้สอนในสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (2) สมรรถนะของครูผู้สอนในสถานศึกษา และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับสมรรถนะของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 เป็นระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 กำหนดขนาดโดยใช้สูตร Taro Yamane สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวนทั้งสิ้น 335 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความตรงเชิงเนื้อหามีค่าเท่ากับ 0.67-1 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำของผู้บริหาร สมรรถนะหลักของครูผู้สอนในสถานศึกษา และสมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอนในสถานศึกษา เท่ากับ 0.981 0.982 0.981 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) สมรรถนะของครูผู้สอนในสถานศึกษา ประกอบด้วย (1) สมรรถนะหลักของครูผู้สอนในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน (2) สมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอนในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับสมรรถนะครูผู้สอนในสถานศึกษา พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กันตชาติ กุดนอก. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2567). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูในสถานศึกษา. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(4), 612-631.
มนัสพงษ์ เก่งฉลาด และ สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะหลักของครู. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 20(38), 74-84.
สมถวิล วิจิตรวรรณา, สุภมาส อังศุโชติ, รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์, สุนิสา จุ้ยม่วงศรี และ ชูศักดิ์ ศิริรุ่งพันธ์. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ชัยภูมิ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.
สุชญา โกมลวานิช และ สิทธิชัย สอนสุภี. (2564). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 159-167.
Domeny, J. V. (2017). The relationship between digital leadership and digital implementation in elementary schools. (Doctoral dissertation, Southwest Baptist University).
Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. (3rd Edition). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.