บทบาทพระสงฆ์กับการรักษาพันธุ์พืชท้องถิ่นและพิธีกรรมศาสนากับวิถีเกษตรแบบชาวบ้าน
คำสำคัญ:
เมล็ดพันธุ์, พืชประจำถิ่น, บทบาทของพระสงฆ์, พิธีกรรมและศาสนา, บุญประเพณีท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอบทบาทของพระสงฆ์กับการรักษาเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้าน โดยการนำเสนอเรื่องราวผ่านรูปแบบวิถีปฏิบัติและการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนในชุมชนชนบท โดยการปฏิบัติตามประเพณี วัฒนธรรม จารีต และขนบธรรมเนียม ที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมา คือ “บุญคูณลาน” และ “บุญบั้งไฟ” ประเพณีบุญเดือนยี่และบุญเดือนหก ตามฮีตสิบสองหรือจารีตสิบสองเดือน เป็นงานบุญประเพณีของชาวพุทธภาคอีสานและคนเชื้อสายลาว ที่ช่วยให้สามารถเก็บรักษาและขยายเมล็ดพันธุ์พืชภายในท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย โดยอาศัยบทบาทการเป็นผู้นำระดับชุมชนของพระสงฆ์ (เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและเป็นที่พึ่งทางใจ) ในการช่วยส่งเสริมและผลักดันจิตสำนึกของชาวบ้านให้เกิดการรักและหวงแหนเมล็ดพันธุ์พืชประจำถิ่นผ่านกิจกรรมงานบุญคูณลาน นำเมล็ดพันธุ์มารวมกันประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ไว้ขยายพันธุ์ เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก งานบุญที่ส่งเสริมการเพาะปลูกของชาวบ้านแบบอาศัยธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ ฝนตกต้องตามฤดูกาล โดยอาศัยฝีมือช่างของพระสงฆ์และสามเณรจัดสร้างขึ้น และใช้พื้นที่วัดจัดกิจกรรมและพิธีกรรม นั่นก็คือ “บุญบั้งไฟ” เป็นงานบุญประเพณีขอฝน เพื่อให้มีน้ำทำการเกษตรและทำให้พื้นดินชุ่มชื้น มีสภาพเหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้เมล็ดพันธุ์งอกงาม เจริญเติบโตเต็มที่ สามารถรักษาเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมประจำถิ่นให้คงอยู่และเป็นสมบัติให้ลูกหลานในอนาคตสืบต่อไป
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). ลอยกระทง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ชำพล แนวจำปา. (2565). ผญาอีสาน “ฮีตสิบสอง”. สืบค้น 29 สิงหาคม 2567. จาก https://www.isangate.com/new/16-word/paya-soi/792-paya-heet-12.html.
เชาวน์มนัส ประภักดี. (2558). ผีในโลกทัศน์ของคนไทดำและมอญในชุมชนท้องถิ่นภาคกลาง: บทสังเคราะห์โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพื้นที่ภาคกลาง. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 “สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร” (น. 145-164). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ทรงคุณ จันทจร, สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน และ ชมนาถ แปลงมาลย์. (2561). บุญกุ้มข้าวใหญ่: ความสัมพันธ์ของความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมต่อความมั่นคงทางสังคม และเศรษฐกิจชุมชนอีสาน. วารสารช่อพะยอม, 29(1), 421-430.
ทัศนฐรสชง ศรีกุลกรณ์, วินิตา คงประดิษฐ์, วรรณวิภา สุเนตต์ตา, เพ็ญสิริ ชาตินิยม และ สุภาวี ศิรินคราภรณ์. (2560). ผี พราหมณ์ พุทธ: วัฒนธรรมประดับได้. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(3), 129-142.
ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช. (2559). ผีและอำนาจ ผ่านความเชื่อเรื่องผีของชาวไทยทรงดำ ตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารราชพฤกษ์, 14(2), 67-74.
นิมิตชัย ชูปู, เก็ตถวา บุญปราการ และ ปัญญา เทพสิงห. (2559). การประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรมของวัดเขียนบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7 (น. 69-89). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ประพจน์ แย้มทิม. (2565). ปรัชญาในทัศนะของคนไทย. วารสารนิสิตวัง, 24(2), 120-124.
ประหลาด จับสูงเนิน. (2566). ประเพณีสู่ขวัญข้าว ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้น 29 สิงหาคม 2567. จาก https://tambonnaklang.go.th/fileupload/1314pa-susu.pdf.
พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ. (2557). ประวัติพระพุทธศาสนาในอินเดีย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เอกพิมพ์ไท.
พระมหาบุญประสิทธิ์ นาถปุญโญ. (2565). การศึกษาวิเคราะห์ประเพณีบุญบั้งไฟในจังหวัดยโสธร. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 27(1), 208-218.
พระเมธีรัตนดิลก. (2567). ประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎกบาลี. สืบค้น 23 สิงหาคม 2567. จาก http://oldweb.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Article/article_23.html.
พระศรีสัจญาณมุนี. (2560). พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครองของไทย. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติ ครั้งที่ 2 “Buddhist Innovation for Developing Thailand” (น. 2423-2436). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.
พระสมุห์บัว ทีปธมฺโม, พระครูวัชรสุวรรณาทร และ พระครูวิรุฬห์วัชรธรรม. (2564). บทบาทพระสงฆ์กับการเสริมสร้างภูมิปัญญาชาวบ้าน. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(3), 228-237.
พระสมุห์วีระ สุนฺทโร. (2566). พระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(4), 241-253.
ภัทรินี คำฝาด, ปรียาภรณ์ เหลืองวรวัฒนา และ พนิดา มะกรูดอินทร์. (2564). หลักพุทธรรมกับแนวคิดพลัง “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชา. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” (น. 2654-2659). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. (2565). ประเพณีเดือน 8-9 : พิธีบูชาแม่โพสพ. สืบค้น 20 สิงหาคม 2567. จาก https://ich-thailand.org/article/detail/62ccfbd4ea3e214999972cd8.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พรไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิสวนแก้ว. (2567). คู่มืออุบาสก อุบาสิกา บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น แปลไทย. นนทบุรี: โพธิ์ทองการพิมพ์.
รัชชัย ขยันทำ. (2561). วัฒนธรรมความเชื่อที่มีต่อประเพณีบั้งไฟของคนอีสาน. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 23(2), 89-99.
เรณู เหมือนจันทร์เชย. (2558). หน้าที่ทางสังคมของความเชื่อผีบรรพบุรุษไทยโซ่ง. บ้านเกาะแรต จังหวัดนครปฐม. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 34(1), 85-103.
วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2523). บทบาทพระสงฆ์ไทยที่เป็นหมอพระในด้านการบำบัดรักษาโรคแก่ชุมชน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
วิฑูรย์ คุ้มหอม. (2558). แม่โพสพ: ตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 140-151.
ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร. (2566). ฮีตสิบสอง : ประเพณีอีสาน 12 เดือน. สืบค้น 17 สิงหาคม 2567. จาก https://isancenter.msu.ac.th/?p=1229.
สามารถ มังสัง. (2560). วัดกับบ้าน: เหตุปัจจัยอาศัยกันและกัน. สืบค้น 15 สิงหาคม 2567. จาก https://mgronline.com/daily/detail/9600000072646.
สุกัญญา สุจฉายา. (2558). พิธีขอฝนของชนชาติไท. วารสารมนุษยศาสตร์, 22(2), 27-63.
สุรชาติ บุษย์ชญานนท์. (2559). คติความเชื่อเรื่องผีในยุควิทยาการสมัยใหม่ (IT). วารสารนัมฏองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 3(1), 42-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.