ความพร้อมขององค์กรส่วนท้องถิ่นในการให้บริการขนส่งผู้สูงอายุสู่สถานบริการสุขภาพ
คำสำคัญ:
องค์กรส่วนท้องถิ่น, ขนส่ง, สถานบริการสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการบริการขนส่งสู่สถานบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี (2) เพื่อประเมินความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการขนส่งผู้สูงอายุ และ (3) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดบริการขนส่งผู้สูงอายุสู่สถานบริการสุขภาพ การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุจำนวน 353 คน และจากตัวแทนหน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่นจำนวน 5 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องมือทางสถิติและการวิเคราะห์ช่องว่างหรือ Gap Analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ในบ้านของตนเอง มีผู้ดูแลเป็นลูกและหลาน ปัญหาของผู้สูงอายุที่พบ คือ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาด้านสุขภาพ เป็นผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังแบบไม่ติดต่อ นิยมเข้ารับบริการด้านสาธารณสุขที่โรงพยาบาลประจำอำเภอมากที่สุด วิธีการเดินทางไปสถานบริการสุขภาพส่วนใหญ่คือการใช้รถยนต์ส่วนตัว และมีความต้องการบริการรับส่งไปสถานบริการสุขภาพมากที่สุด 2) ความพร้อมของหน่วยงานท้องถิ่นที่จะให้บริการขนส่งไปยังสถานพยาบาล พบว่า หน่วยงานมีความพร้อมในระดับปานกลาง ทั้งในด้านงบประมาณ บุคลากรและวิธีดำเนินการ หน่วยงานขาดความร่วมมือขององค์กรที่เกี่ยวข้องกัน สรุปประเด็นหลักที่หน่วยงานท้องถิ่นต้องมีเพิ่มเติม คือ งบประมาณ ข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ ยานพาหนะ และบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแล 3) ความเป็นไปได้ในการจัดบริการขนส่งผู้สูงอายุสู่สถานบริการสุขภาพ จากการวิเคราะห์ GAP Analysis พบว่า หน่วยงานท่องถิ่นจะต้องดำเนินการเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดหายานพาหนะที่เหมาะสมกับการรับส่งผู้สูงอายุ การฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุ การจัดการข้อมูลสุขภาพและเชื่อมโยงกับข้อมูลกับสถานพยาบาล ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้สร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐและแอกชน เพื่อจัดสวัสดิการบริการขนส่งผู้สูงอายุสู่สถานพยาบาล
References
กรมอนามัย. (2561). รายงานสถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
ชัยพร พิทยาพร. (2562). การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการจัดบริการขนส่งผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 8(2), 45-59.
ชัยวัฒน์ ศรีไพบูลย์. (2560). การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของผู้สูงอายุในเขตชนบทของประเทศไทย. วารสารวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข, 9(1), 112-125.
นงนุช มงคลชัย. (2563). การศึกษาผลกระทบของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิจัยสังคมศาสตร์, 5(2), 34-45.
ศิริลักษณ์ โพธิ์ประภา. (2561). ความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาบริการขนส่งผู้สูงอายุในชุมชนเมือง. วารสารการบริหารจัดการ, 6(3), 90-104.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2562). การประเมินผลการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกล. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สุภาวดี แก้วไพฑูรย์. (2559). บทบาทของการขนส่งสาธารณะในการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์, 3(2), 45-58.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2560). แนวทางการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2564). ระบบขนส่งเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย. สืบค้น 10 มิถุนายน 2567. จาก http://www.example.com.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). บทบาทของหน่วยงานท้องถิ่นในการสนับสนุนการขนส่งผู้สูงอายุ. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566. http://www.example.com.
World Health Organization. (2018). Ageing and health. World Health Organization. Retrieved 2 August 2022. from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.