ผลการใช้บอร์ดเกม เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • นภาพร คำปา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย
  • นันทน์ธร บรรจงปรุ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย

คำสำคัญ:

บอร์ดเกม, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีไทย, เทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกมร่วมกับเทคนิค TGT เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีไทย และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีไทยก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับดนตรีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง จำนวน 31 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิค TGT ร่วมกับบอร์ดเกม (2) บอร์ดเกม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีไทย วิเคราะห์คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้และบอร์ดเกม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ค่าสถิติ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพความเหมาะสมของบอร์ดเกมโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 6 เรื่องอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด และผลการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกม เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีไทย เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เจียรนัย ธนูธรรมาคุณ. (2564). การออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์บอร์ดเกมที่สอดแทรกความรู้สำหรับเจเนอเรชันวาย. (ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ณัฐพร ยิ้มประเสริฐ. (2567). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย เรื่องคำภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ตฤณญา อังกุรอัชฌา. (2567). ผลการใช้บอร์ดเกมในกระบวนการทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 10(2), 69-78.

ปาริชาต ชิ้นเจริญ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกมเป็นฐานที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ภิรพุทธิ์ สว่างสุข. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน (TGT) ร่วมกับการใช้ปัญหาปลายเปิดเรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

รัชนีวรรณ ตั้งภักดี. (2565). การพัฒนารูปแบบการสร้างบอร์ดเกมเพื่อการศึกษาในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 15(2), 117-132.

โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง. (2560).หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ รายวิชาดนตรีไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฉบับปรับปรุง. ตรัง: โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง.

วชิรวิทย์ เอี่ยมวิลัย. (2563). การพัฒนาบอร์ดเกมตามแนวทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สุพิชญา สาขะจันทร์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับสื่อ eDLTV เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

คำปา น., & บรรจงปรุ น. (2025). ผลการใช้บอร์ดเกม เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 7(1), 523–534. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/279011