มหาวิทยาลัยกับการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก: กรณีศึกษาโครงการเสริมสร้างศักยภาพนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่สากล
คำสำคัญ:
มหาวิทยาลัย, ความเป็นพลเมืองโลก, นิสิตบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลกของนิสิตผู้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างศักยภาพนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่สากล ภายใต้โครงการย่อยที่ 5 โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานคู่สัญญาในต่างประเทศ ปี 2566 คณะสังคมศาสตร์ และ (2) ศึกษากลไกของโครงการเสริมสร้างศักยภาพนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่สากล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก พร้อมทั้งทำการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง พร้อมทั้งทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 7 ราย ซึ่งเป็นนิสิตผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 4 ราย และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับกลไกของโครงการเสริมสร้างศักยภาพนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่สากลจำนวน 3 ราย ผลการศึกษาพบว่า นิสิตผู้เข้าร่วมโครงการทุกรายเกิดการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลกทั้งทางด้านความรู้และความเข้าใจ ทักษะ และ ทัศนคติ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจะพบว่ามีการพัฒนาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เป็นเพราะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่ของนิสิตในสถาบันคู่สัญญาแต่ละประเทศมีความแตกต่างหลากหลาย และกลไกของโครงการเสริมสร้างศักยภาพนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่สากลจากกองวิเทศสัมพันธ์และคณะสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย กลไกทางด้านนโยบาย กลไกทางด้านบุคคล กลไกทางด้านงบประมาณสนับสนุน และ กลไกทางด้านกระบวนการ จากผลการศึกษาข้างต้นได้เสนอแนะว่า มหาวิทยาลัยและทางคณะสังคมศาสตร์ควรมีการนำกรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองโลกไปบูรณาการร่วมกับหลักสูตรการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตมีความรู้และความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมก่อนไปทำการแลกเปลี่ยนร่วมกับสถาบันคู่สัญญา ณ ต่างประเทศ
References
ปรตี ประทุมสุวรรณ์. (2562). กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนา ความเป็นพลเมืองโลก. Journal of Education Studies, 47, 188-211.
พรรณพิลาศ กุลดิลก. (2017). การขับเคลื่อนสังคมผ่านสื่อใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 49(25), 62-64.
Nussbaum, M. C. (2002). Patriotism and Cosmopolitanism. In B. Press (Ed.). For Love of Country?. (pp. 3-17). Boston: Beacon Press books.
Oxfam Development Education Programme. (2006). Education for global citizenship: A guide for schools. London: Oxfam Education.
Robinson, O. C. (2014). Sampling in interview-based qualitative research: A theoretical and practical guide. Qualitative research in psychology, 11(1), 25-41.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.