การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนทับปุดวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง

ผู้แต่ง

  • สุวโรจน์ สุดจิตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • ธณัฐชา รัตนพันธ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • นพรัตน์ ชัยเรือง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

โรงเรียนปลอดขยะ, ประเมินโครงการ, CIPP Model

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินบริบท (2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (3) ประเมินกระบวนการ และ (4) ประเมินผลผลิต ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนทับปุดวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 40 คน บุคลากร จำนวน 6 คน และนักเรียน จำนวน 279 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามตามรูปแบบ CIPP Model แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบการสนทนากลุ่ม สำหรับผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) บริบทของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ 2) ปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากรและด้านหน่วยงานที่สนับสนุน มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ 3) กระบวนการของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การวางแผนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการติดตามและประเมินผล 4) ผลผลิตของโครงการ พบว่า (1) ผลสำเร็จของโครงการและความพึงพอใจ ของ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ความพึงพอใจของนักเรียน โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ พบว่า นักเรียนทิ้งขยะได้ถูกต้องตามประเภทของถังขยะ ที่โรงเรียนจัดไว้สำหรับคัดแยกขยะ มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุด

References

ธรรมชาติ มีรักษา (2562). การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนบ้านคลองบางกก. สมุทรสงคราม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม.

นิสาวรรณ พรมเมตตา. (2565). การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะของเขตบางบอนสู่การเป็นสังคม zero waste. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

พิชญา คำแก้ว พิกุล เอกวรางกูร และ ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ. (2565). การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 13(1), 83-95.

สายสุดา ฤทธิยงค์. (2563). การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน. ขอนแก่น: สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. (2564). การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School . หนองคาย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 –2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการด้านทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

อนันทชัย ชุมอักษร. (2564). การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564. ตรัง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Stufflebeam, D.L. & Shinkfield, A.J. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. San Francisco, CA: John Wiley and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

สุดจิตร ส., รัตนพันธ์ ธ., & ชัยเรือง น. (2024). การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนทับปุดวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 535–546. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/279246