ผลการใช้ชุดกิจกรรมโค้ดดิ้งแบบผสมผสานที่มีต่อทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • นันทน์ธร บรรจงปรุ นิสิตปริญญาโท สาขาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
  • ยศวีร์ สายฟ้า รองศาสตราจารย์ สาขาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมโค้ดดิ้งแบบผสมผสาน, ทักษะการคิดเชิงคำนวณ, นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงคำนวณก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมฯ ของกลุ่มทดลอง และ (2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการของทักษะการคิดเชิงคำนวณระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมโค้ดดิ้งแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) ชุดกิจกรรมโค้ดดิ้งแบบปกติเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) แผนการจัดการเรียนรู้วิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง โดยใช้กับ กลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม (4) แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะการคิดเชิงคำนวณ (5) แบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากผลงานของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) รวมถึงการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent samples t-test) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการคิดเชิงคำนวณของกลุ่มทดลองหลังการใช้ชุดกิจกรรมโค้ดดิ้งแบบผสมผสานด้านสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมโค้ดดิ้งแบบผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการของทักษะการคิดเชิงคำนวณระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนเฉลี่ยพัฒนาการของทักษะการคิดเชิงคำนวณระหว่างกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2562). เปิด 7 ความเสี่ยง ‘สึนามิดิจิทัล’. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/848100.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2552). ผลของการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้คอร์สแวร์ในรูปแบบที่ต่างกันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักเรียนระดับปริญญาบัณฑิตที่มีระดับความสามารถทางการเรียนรู้ต่างกันในรายวิชาโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บขั้นนำ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล : Digital Learning Design. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2563). เกมการเรียนรู้แบบ Unplug. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.scimath.org/articletechnology/item/10631-unplug.

ชนัสนันท์ กัญชนะ และ เกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ. (2565). การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัย. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 (น. 2385-2400). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ และ พนมพร ดอกประโคน. (2559). เกมบนโปรแกรมเชิงจินตภาพ และ แนวคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ. Journal of Information Science and Technology, 6(6), 9-16.

บีบราสประเทศไทย. (2020). การทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ. สืบค้น 1 เมษายน 2566. จาก https://www.bebras.in.th/wordpress/en/main_en/.

พัฒนะ พิพัฒน์ศรี. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การเขียนโปรแกรม KidBright สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

พิชญานิน ศิริหล้า. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวฉันทศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ (Comptational thinking) และการทำงานเป็นทีม ในวิชาฉันทศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2561). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาสกร เรืองรอง และ มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์. (2563). แนวคิดเชิงคำนวณร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้ Coding เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 11(1), 1-15.

วิภาดา สุขเขียว. (2563). การพัฒนาแนวคิดเชิงคำนวณโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับ Edmodo และ Quizizz สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ).

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ประเทศไทย. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3121.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ). สืบค้น 1 เมษายน 2566. จาก https://www.scimath.org/ebook-technology/item/8376-2560-2551.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). โครงการการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้งในโรงเรียน. สืบค้น 25 มิถุนายน 2565. จาก https://www.ipst.ac.th/news/1859/c4tplus.html.

Garrison, D. R., & Vaughan, N. D. (2008). Blended Learning in Higher Education Framework, Principles, and Guidelines. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Na Ubo, P., & Chai-ngam, R. (2022). The Study of the Effect of Unplugged Coding Leaning Activity on Computational Thinking Skill of Grade 3 Students. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 19(2), 144–153.

Selby, C. C. (2015). Relationships: computational thinking, pedagogy of programming, and Bloom's Taxonomy. In Proceedings of the workshop in primary and secondary computing education (pp. 80-87). New York: Association for Computing Machinery.

Sykora, C. (2021). Computational Thinking for All. Retrieved 20 June 2023. from https://iste.org/blog/computational-thinking-for-all.

Yuliana, I., Hermawan, H. D., Prayitno, H. J., Ratih, K., Adhantoro, M. S., Hidayati, H., & Ibrahim, M. H. (2021). Computational Thinking Lesson in Improving Digital Literacy for Rural Area Children via CS Unplugged. Journal of Physics: Conference Series, 1720(1), 012009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

บรรจงปรุ น., & สายฟ้า ย. (2024). ผลการใช้ชุดกิจกรรมโค้ดดิ้งแบบผสมผสานที่มีต่อทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 505–518. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/279284