พฤติกรรมการลงทุนในโทเคนดิจิทัล กรณีศึกษาประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อมริศา ปานแจ่ม นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • วรดี จงอัศญากุล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

โทเคนดิจิทัล, การลงทุน, พฤติกรรมการลงทุน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลงทุนโทเคนดิจิทัล และ (2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของแรงจูงใจตามประเภทโทเคนดิจิทัล โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักลงทุนในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ลงทุนในโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) หรือโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าสถิติ T-Test ผลการศึกษาพฤติกรรมนักลงทุนโทเคนดิจิทัลพบว่า นักลงทุนในประเทศไทยส่วนใหญ่เลือกลงทุนในโทเคนดิจิทัลประเภทเพื่อการลงทุน โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการลงทุนโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน คือ เพื่อทดลองการลงทุนใหม่ ๆ ในขณะที่นักลงทุนโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ มีวัตถุประสงค์หลักของการลงทุนโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และในอนาคตนักลงทุนทั้ง 2 ประเภทส่วนใหญ่ยังคงเลือกลงทุนในโทเคนดิจิทัลต่อไป สำหรับความแตกต่างของแรงจูงใจในการลงทุน โดยใช้ค่าสถิติ T-Test พบว่า นักลงทุนโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ให้คะแนนความสำคัญสูงที่สุดในเรื่องผลตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับมีความน่าสนใจ ส่วนนักลงทุนโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนให้คะแนนความสำคัญสูงที่สุด ในเรื่อง Website และ Application จองซื้อของผู้ออกโทเคนมีการออกแบบสวยงาม มีความน่าดึงดูดให้สนใจ น่าใช้งาน โดยทั้ง 2 ประเภทมีแรงจูงใจทางการตลาดต่างกันในเรื่องผลิตภัณฑ์ ส่วนแรงจูงใจด้านอื่น ๆ ต่างกันในเรื่อง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี Blockchain และระบบการเงินมีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย

References

นริศรา ซื่อไพศาล. (2564). Digital Asset คืออะไร?. สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://thematter.co/futureverse/futureword-digital-asset/160461.

สมใจ ฟองธิวงค์ และ กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย. (2562). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงินในสกุลดิจิทัล ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 6(2), 57-71.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2561). รู้จัก พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล. สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.sec.or.th/TH/PublishingImages/Pages/Shortcut/DigitalAsset/digitalasset_introduction.jpg.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2566). ครม.อนุมัติร่าง พ.ร.ฎ. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและ VAT จากการขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน เพิ่มทางเลือกการระดมทุน. สืบค้น 8 มีนาคม 2566. จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/65833.

Bakos, Y., & Halaburda, H. (2019). Funding new ventures with digital tokens: Due diligence and token tradability. Retrieved 2 June 2023. from https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3335650.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Kotler, P. (2000). Marketing management: The millennium edition (Vol. 199). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ปานแจ่ม อ., & จงอัศญากุล ว. (2024). พฤติกรรมการลงทุนในโทเคนดิจิทัล กรณีศึกษาประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 569–580. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/279456