การพัฒนาระบบการให้บริการผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง, สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง, ระบบการให้บริการ, ทีมสหวิชาชีพบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี (2) ศึกษาระบบการให้บริการผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี และ (3) พัฒนาต้นแบบ (Model) ระบบการให้บริการผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่เน้นคำถามปลายเปิดเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี รวมถึงนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา เจ้าหน้าที่งานพยาบาล และเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบการให้บริการผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี ประกอบด้วย ปัญหาด้านสุขภาพเรื้อรัง ความรู้สึกโดดเดี่ยว และข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุต้องการการดูแลด้านสุขภาพกายและจิตใจที่เหมาะสม รวมถึงต้องการการสนับสนุนทางสังคม และกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต 2) ระบบการให้บริการในปัจจุบันของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี ยังไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ แม้จะมีการปรับตัวบางส่วน เช่น การจัดตั้งทีมสหวิชาชีพและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ แต่ยังคงประสบปัญหาด้านจำนวนบุคลากรเฉพาะทางที่ไม่เพียงพอ ทรัพยากรและงบประมาณที่จำกัด ทำให้การให้บริการไม่ครอบคลุมและไม่ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุได้อย่างเต็มที่ 3) ได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี โดยการเพิ่มบุคลากรเฉพาะทาง เช่น นักกายภาพบำบัดและนักจิตวิทยา การจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณที่เพียงพอ การปรับปรุงระบบส่งต่อและประสานงานเพื่อเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โมเดลต้นแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำหรับการดูแลผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี และการจัดทำนโยบายสาธารณะที่ยั่งยืน
References
กรมการปกครอง. (2564). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2562). รายงานธุรกิจบริการผู้สูงอายุในสหรัฐฯ. สืบค้นจาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/568866/568866.pdf.
ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง. (2565). การดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคปกติถัดไป. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 2(1), 74-84.
วรรณลักษณ์ เมียนเกิด. (2563). ผู้สูงอายุในสถานคุ้มครองคนไรที่พึ่ง. กรุงเทพฯ: จริลสนิทวงศ์การพิมพ์.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2552). หลักการ แนวคิดและประสบการณ์การจัดการดูแลระยะยาวในประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงอายุ. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4980/UHC-Siriphan.pdf?sequence=1.
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี. (2566). สถิติการให้บริการของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี. ปทุมธานี: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักทะเบียนกลาง. (2564). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเนียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf.
Barney, J. (1991). Firm Resources and Sustained Competitive Advantage. Journal of Management, 17(1), 99–120.
City of boulder. (2567). เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่เมืองของ Boulder ทำงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและให้อำนาจแก่ผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://bouldercolorado.gov/th/news/helping-older-adults-thrive.
Jones, R., Smith, T., & Taylor, P. (2020). Barriers to healthcare access for elderly people with chronic conditions. Journal of Health Systems, 45(3), 230-245.
Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370–396.
Sen, A. (1999). Development as freedom. Oxford: Oxford University Press.
Smith, J., & Brown, H. (2021). Improving healthcare transitions for the elderly: A case study of effective referral systems. Journal of Aging and Health, 33(4), 310-321.
Smith, J., Brown, A., & Taylor, R. (2019). Quality of life among older adults in dependency care: A holistic approach. Journal of Gerontological Social Work, 62(5), 455-472.
TCDC Resource Center. (2021). Aging Society VS. Aged Society in Global and Thai Context. Retrieved from https://resource.tcdc.or.th/ebook/AgingSociety_Report_official.pdf.
Von Bertalanffy, L. (1968). General System Theory: Foundations, Development. New York: George Braziller.
World Health Organization. (2015). World report on ageing and health. Retrieved from https://www.who.int/publications/i/item/9789241565042.
World Health Organization. (2018). Integrated care for older people: Guidelines on community-based health services for older persons. Retrieved from https://www.who.int/publications/i/item/9789241550399.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.