แนวทางการพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืนของกลุ่มปลาส้ม ตำบลหัวทะเล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนาอาชีพ, กลุ่มปลาส้ม, การพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาความต้องการ การพัฒนาอาชีพของกลุ่มปลาส้ม ตำบลหัวทะเล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาอาชีพของกลุ่มปลาส้ม ตำบลหัวทะเล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ในการยกระดับให้ยั่งยืน งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเอกสาร ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน ประกอบด้วย หน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลหัวทะเล สมาชิกชุมชนและกลุ่มปลาส้ม ตำบลหัวทะเล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน พ.ศ.2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ตามประเด็นที่ศึกษา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ความต้องการแก้ปัญหาของกลุ่มปลาส้ม ต้องการหาตลาดรองรับ การพัฒนากลุ่มอาชีพจะต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน ส่งเสริมการตลาดออนไลน์และการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มที่โดดเด่น พร้อมทั้งการพัฒนาทักษะการฝึกอบรม การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนากลุ่มให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการสร้างกลุ่มผู้สืบทอดและเพิ่มแรงงานใหม่ในกลุ่มจะช่วยทำให้กลุ่มอาชีพที่มีศักยภาพอย่างยั่งยืน
References
ทิพย์กมล ภูมิพันธ์ และ อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2559). สุขลักษณะของการประกอบกิจการผลิตปลาร้าและปลาส้ม ในอำเภอหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 75-85.
ธันยพงศ์ สารรัตน์, ชุติมา เมฆวัน, ธงชัย ชํานิกุล และ อัษฎา พิศนอก. (2566). การดําเนินธุรกิจปลาส้ม: กรณีศึกษาตําบลทาม อําเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. ใน การประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 61 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (น. 177-185). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นตนน นรานันท์. (2560). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นปลาเนื้อส้ม: กรณีศึกษาบ้านบาตูปูเต๊ะ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. (ประกาศนียบัตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2563). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร และ โชติกา แก่นธิยา. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 101–116.
สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ. (2563). ข้อมูลสถานการณ์จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ: สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ.
สำนักเทคโนโลยีชุมชน. (2563). รายงานการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ปลาส้ม. สืบค้นจาก https://www.dss.go.th/images/ohm/otop/CT-4.pdf.
Arnstein, S. R. (1969). A ladder of citizen participation. Journal of the American Institute of planners, 35(4), 216-224.
Tiedeman, D. V., & O'hara, R. P. (1963). Career development: Choice and adjustment. New York: College Entrance Examination Board.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.