การบริหารงานวิชาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง

ผู้แต่ง

  • อนงค์นาฎ หน่วยแก้ว นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • นพรัตน์ ชัยเรือง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, เทคโนโลยีดิจิทัล, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นทางการบริหารงานวิชาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา (3) ศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุงการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ปีการศึกษา 2567 จำนวน 285 คน ได้มาโดยวิธีคัดเลือกใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI modified ผลการศึกษาพบว่า 1) บริหารงานวิชาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง โดยรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการตามองค์ประกอบหลักในการบริหารงานวิชาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา พบว่า ด้านการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารมีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการวัดผลและประเมินผลของผู้บริหาร ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลทางการศึกษาของผู้บริหาร ด้านการพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษาของผู้บริหารตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา ควรนำเทคโนโลยีดิจิทัลในการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและจัดประชุมออนไลน์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ (2) การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลทางการศึกษา ควรสนับสนุนการพัฒนาห้องเรียนอัจฉริยะและสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลที่ทันสมัย (3) การวัดผลและประเมินผล ควรส่งเสริมการใช้ AI ในการวัดผลและประเมินผลการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ (4) การนิเทศการศึกษา ควรใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการรวบรวม วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาการนิเทศอย่างเป็นระบบ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2562. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2568). นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568–2569. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญยาภรณ์ กิ่งไทร, กมลทิพย์ ศรีหาเศษ และ สุวิมล ติรกานันท์. (2564). การศึกษาทักษะการอยู่รอดทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 678-693.

จักรกฤษณ์ กังหัน. (2565). สภาพและแนวทางการดำเนินการนิเทศภายในโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของโรงเรียนเอกชน จังหวัดแพร่. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ชาญชัย ประพาน, สุภาวดี วงษ์สกุล และ ตวงทอง นุกูลกิจ. (2567). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(2), 19-36.

ชินวัตร เจริญนิตย์. (2564). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 21(1), 51-58.

ไชยา ภาวะบุตร, สุรัตน์ ดวงชาทม และ สุมัทนา หาญสุริย์. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 9(33),1-11.

ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2563). การพัฒนาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(102), 28-42.

ประภาภรณ์ ภูขาว. (2567). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. Journal of Applied Education, 2(5), 1-8.

ปรีดา บัวยก, สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์ และ บรรจง เจริญสุข. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 15-29.

รัตนา ดวงแก้ว. (2554). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2555). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

รุ่งนภา คำเทศ, พระครูกิตติญาณวิสิฐ และ พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ. (2566). แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคปกติวิถีใหม่. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 4(2), 128-140.

ศศิรดา พันชัยภู, ภาณุพงศ์ บุญรมย์ และ ชวนคิด มะเสนะ. (2565). รูปแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1639-1653.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567. พัทลุง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.

สุนันทนา กุศลประเสริฐ. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สุพัตรา นามขาว, บรรจบ บุญจันทร์ และ อริสา นพคุณ. (2566). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 6(3), 478-493.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.

Best, J. W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitude. Archives of Psychology, 140, 1-55.

OECD. (2021). Digital education outlook 2021: Pushing the frontiers with AI, blockchain, and robots. Paris: OECD Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

หน่วยแก้ว อ., นวกิจไพฑูรย์ น., & ชัยเรือง น. (2025). การบริหารงานวิชาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 7(1), 265–278. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/280583