ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ กรมการจัดหางาน
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์การ, ข้าราชการ, กรมการจัดหางานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับบรรยากาศองค์การและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ กรมการจัดหางาน (2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ กรมการจัดหางาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ กรมการจัดหางาน เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับบุคลากรของกรมการจัดหางาน (กระทรวงแรงงาน) ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือน จำนวน 400 ราย ใช้สถิติพรรณนา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้าราชการกรมการจัดหางานส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการสร้างบรรยากาศขององค์การและความผูกพันต่อองค์การ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยการสร้างบรรยากาศขององค์การด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และความผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่กับองค์การ และความผูกพันด้านบรรทัดฐานสังคมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 2) ข้าราชการกรมการจัดหางานที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ข้าราชการกรมการจัดหางานที่มีเพศ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน 3) บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ กรมการจัดหางาน ในทิศทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง (r=0.63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กมลวรรณ เทพจั้ง และ พงษ์ศักดิ์ เพ็ชรสถิตย์. (2564). บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(6), 40-52.
กรมการจัดหางาน. (2567). จำนวนบุคลากร. สืบค้นจาก http://doe.go.th/prd/hrad/custom/param/site/138/cat/40/sub/0/pull/detail/view/detail/object_id/3114.
กรมการจัดหางาน. (2568). วิสัยทัศน์/พันธกิจ/และค่านิยม. สืบค้นจาก https://www.doe.go.th/prd/main/general/param/site/1/cat/27/sub/0/pull/singleview/view/detail/object_id/2.
ดนัย ผ่องแผ้ว, ศรายุทธ คชพงศ์, กุลชาติ บุญกลั่นสอน และ โชติ บดีรัฐ. (2564). ทุนมนุษย์: การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การภาครัฐ. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 298-302.
นิธิธรรม ศุนาลัย และ รวิภา ธรรมโชติ. (2566). สาเหตุและผลของความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(3), 67-80.
พัณนิดา เถายะบุตร. (2566). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
พัทธดนย์ ดนยรักษ์ นนทกะตระกูล. (2566). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความสุขในการทำงาน และความผูกพัน ของข้าราชการกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
พิตะวัน ละออศรี. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงาน Generation Y บริษัทเอกชน ในกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
พีระ แก้วสะอาด. (2564). อิทธิพลของบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงาน บมจ.ธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ภัทราพร มูลสถาน และ ฐิติมา ไชยะกุล. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีม การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการ บริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ ในเขตท่าเทียบเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(3), 41-54
วราภรณ์ ศรีวงษ์ และ จุรีวัลย์ ภักดีวุฒิ. (2565). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(6), 109-124.
สุธินี ฤกษ์ขำ. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : หลักการและการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารีรัตน์ เสสตะญาติ และ กฤษฎา มูฮัมหมัด. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มเจน เนอเรชั่นซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 13(2), 161-176.
Cronbach, L. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed). New York: Harper & Row.
Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill Book Company.
Meyer, J. P., & Allen, N. J. (1991). A three-component conceptualization of organizational commitment. Human resource management review, 1(1), 61-89.
Robert Stringer. (2002). Leadership and Organizational Climate: the cloud chamber effect. New Jersey: Pearson Education, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.