ความต้องการจำเป็นของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
คำสำคัญ:
การประกันคุณภาพ, ความต้องการจำเป็น, ระดับคุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา (2) ความต้องการจำเป็นของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น โดยดัชนีลำดับความสำคัญ (PNI modified) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ความต้องการจำเป็นของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เรียงตามลำดับ ดังนี้ (1) การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (2) การติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา (3) การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (4) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 5) การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และ (6) การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ตามลำดับ
References
กฤษณะ อรัญสาร. (2565). แนวทางพัฒนาการบริหารงานระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).
ทิพย์ทิวา ปัญญาใส และ ธนาศักดิ์ ศิริปุณยนันท์. (2567). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ขอนแก่น เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(2), 45-60.
ธนาเดช เขียวแก้ว และ วิเชียร รู้ยืนยง. (2565). ความต้องการจำเป็นการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 30-45.
ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก.
เวทพิสิฐ วิสิทธิ์พจมาลย์. (2566). การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในแนวใหม่สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 11(1), 114-130.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะ เทรดดิ้ง
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2566). รายงานสรุปผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับศึกษานิเทศก์และสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยรูปแบบผสมผสาน (online และ face to face). กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
อรสา โกศลานันทกุล. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชาวิทยาการวิจัย (Research Methodology). ปทุมธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
Best, J. W. (1977). Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersy: Pretice Hall.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. New York: R. S. Woodworth.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.