ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของห้างสรรพสินค้า

ผู้แต่ง

  • ณิชาภัทร บุญอริยะประเสริฐ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • ภัญนภัส พฤกษากิจ แช่มสุ่น คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, การถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ (เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้) และปัจจัยส่วนประสมการตลาดออนไลน์ (เช่น ช่องทางการจัดจาหน่าย การส่งเสริมการตลาด การให้บริการส่วนบุคคล และการรักษาความเป็นส่วนตัว) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของห้างสรรพสินค้าในจังหวัดจันทบุรี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคจานวน 385 คน ซึ่งผ่านการเลือกแบบสะดวก (Convenience Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงอนุมาน เช่น T-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยอายุและปัจจัยการให้บริการส่วนบุคคลส่งผลต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคอายุ 55 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ การรักษาความเป็นส่วนตัวและการส่งเสริมการตลาดยังมีผลกระทบเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อ ผลการวิจัยสามารถนาไปใช้ปรับกลยุทธ์การตลาดออนไลน์และการออกแบบบริการเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

เกรียง กิจบำรุงรัตน์. (2564). การทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(3), 260-271.

ฐานเศรษฐกิจ. (2566). Facebook ยังยืนหนึ่งแพลตฟอร์มที่แม่ค้าไลฟ์ขายของมากที่สุด. สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/business/marketing/553809.

ดวงตา อ่อนเวียง. (2565). พฤติกรรมผู้บริโภคและความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 7(2), 810-819.

ธนกฤตวงศ์ มหาเศรษฐ์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด อิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์บนร้านค้าออนไลน์ของเพศชายในจังหวัดราชบุรี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

บุญญาพร ศรีประเสริฐ, พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์ และ ฉัตยาพร เสมอใจ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการแพร่ภาพสด บนแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 64-65.

เบญจมาภรณ์ รุ่นประพันธ์ และ ศักดิ์ชาย ตั้งวรรณวิทย์. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 9(1), 128-141.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2567). รวมสถิติและ Insight สำคัญ ๆ ของคนไทยกับการใช้ Digital และ Social Media 2024. สืบค้นจาก https://www.popticles.com/insight/thailand-digital-and-social-media-stats-2024/.

ภัทรมน ศรีวิภาต และ สายพิณ ปั้นทอง. (2566). อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านแอปพลิเคชัน SHOPEE ของลูกค้าในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 37(2), 102-115.

มัสลิน ใจคุณ. (2561). การยอมรับเทคโนโลยี ความไว้วางใจ และการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ (Facebook LIVE) ของกลุ่มผู้บริโภค Generations X, Y, Z. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ).

รักสุดา เฉิดจํารัส, อัครวิชช์ รอบคอบ, อารีรัตน์ ปานศุภวัชร และ เกสินี หมื่นไธสง. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กของผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 5(1), 39-56.

วริศรา สู้สกุลสิงห์ และ วราวุธ ฤกษ์วรารักษ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), 99-118.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). B2C E-commerce กลุ่มสินค้า ปี’ 65 คาดขยายตัวราว 13.5% จากการดึงส่วนแบ่งหน้าร้านโดยเฉพาะอาหารและของใช้ส่วนตัว (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3309). สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/B2C.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). ETDA เผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยปี 65. สืบค้นจาก https://blog.shippop.com/insight-th-internet-usage-2022.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

บุญอริยะประเสริฐ ณ., & พฤกษากิจ แช่มสุ่น ภ. (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของห้างสรรพสินค้า. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 7(1), 1–12. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/280765