แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมูลฝอยชุมชน ภายใต้บทบาทของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พวงผกา สีมา วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
  • รสิตา ดาศรี อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ, ขยะมูลฝอย, แนวทางการแก้ไขปัญหา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่ออธิบายปัญหาการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมูลฝอยชุมชนของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น (2) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมูลฝอยชุมชนของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการค้นคว้าเอกสาร เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 คนประกอบด้วยเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลเมืองชุมแพ เทศบาลตำบลกุดน้ำใส เทศบาลเมืองเมืองพล และเทศบาลบ้านไผ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมูลฝอยชุมชนของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ปัญหาด้านขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ปัญหาด้านงบประมาณที่สูง ปัญหาด้านชุมชนที่มีการคัดค้านจากประชาชนและชุมชน ปัญหาด้านขยะไม่เพียงพอต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าและปัญหาด้านระเบียบกฎหมายที่มีความซับซ้อนและล่าช้า 2) แนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมูลฝอยชุมชนของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ส่งเสริมทักษะและพัฒนาศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่ สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนให้เข้ามาสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณ การสร้างความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และการมีส่วนร่วมของประชาชน ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใกล้เคียง และควรมีระบบตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งกระบวนการอนุมัติและลดข้อผิดพลาดในการดำเนินการ

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2566). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน.สืบค้นจาก https://thaimsw.pcd.go.th/report_country.php.

กรมควบคุมมลพิษ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570). สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/publication/28745/.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2663). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน 'จังหวัดสะอาด' ประจำปี 2563. สืบค้นจาก https://www.dla.go.th/upload/document.

กรองเพชร ธนิทยรัตน์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับของประชาชนต่อโครงการโรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม หนองแขม กรุงเทพมหานคร. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

เชี่ยวชาญ ศรีชัยยา. (2567). ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากขยะ (บทวิเคราะห์พิเศษ) วิจัยธุรกิจธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์. สืบค้นจาก https://www.lhbank.co.th/getattachment/5884dba7-5553-49aa-b06b-7f47185adc38/economic-analysis-Industry-Outlook-2024-Municipal-Waste-Power-Generation.

ณัฏฐ์อมร ลิมปิจำนงคิด. (2565). ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 15(3), 321-343.

ดิเรก บวรสกุลเจริญ. (2567). มาตรการทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีการป้องกันและควบคุมขยะมูลฝอยโดยเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการปัญญาปณิธาน, 9(1), 407-420.

เด่นดนัย ดวนสูง, พัชราภรณ์ทิลา, เกตนิภา คำดวง, ชลสิทธิ์ ปรึกไธสง, ปัทมาภรณ์ สุ่มมาตย์ และ อรณิชา โต้งกระโทก. (2566). การจัดการขยะ โดยศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ zero waste หมู่บ้านหัวถนน ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Spatial Development and Policy, 1(3), 1-18.

ตติยาภรณ์ วรวงศ์ไกรศรี และ โสภิตสุดา ทองโสภิต. (2554). การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในประเทศไทยกรณีศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต. วารสารวิจัยพลังงาน, 8(3), 47-57.

ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2561). ปัญหาและอุปสรรคในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากใหญ่ จังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(2), 183-194.

วีระพงศ์ ศุภเศรษฐ์ศักดิ์. (2562). ปัญหาขยะชุมชนและแนวทางการแก้ไขโดยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 61(3), 107-119.

ศิริรัตน์ สังข์สุวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาโรงไฟฟ้าชุมชนจากขยะเพื่อความมั่นคง ด้านพลังงานอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(3),118-132.

ศิโรรัตน์ งูตูล. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าขยะที่ใช้เทคโนโลยีเตาเผาขยะ. (นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว. (2566). Waste to Energy. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ. สืบค้นจาก https://petromat.org/home/waste-to-energy/.

อุมาวรรณ วาทกิจ และ วรวิช โกวิทยากร. (2562). ผลกระทบของโรงงานแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงานไฟฟ้า สถานีกำจัดขยะ เทศบาลนครขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 335-346.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

สีมา พ., & ดาศรี ร. (2025). แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมูลฝอยชุมชน ภายใต้บทบาทของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 7(1), 65–76. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/280906