การพัฒนาสุขศาลาร่วมใจแบบมีส่วนร่วมบนฐานของชุมชนในพื้นที่จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • วรินทร์เทพ เชื้อสำราญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ประเทศไทย
  • ถนัด ใบยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ประเทศไทย
  • แชน อะทะไชย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ประเทศไทย
  • กมลฉัตร จันทร์ดี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ประเทศไทย
  • วิลาวัณย์ กามินทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, สุขศาลาร่วมใจ, การมีส่วนร่วมบนฐานของชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกลของจังหวัดน่าน (2) พัฒนารูปแบบสุขศาลาร่วมใจแบบมีส่วนร่วมบนฐานของชุมชน และ (3) ประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินงานสุขศาลาร่วมใจที่พัฒนาขึ้น โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย 6 พื้นที่ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า สุขศาลาร่วมใจที่ใช้แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพ ลดอุปสรรคด้านระยะทาง และส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของชุมชนในระยะยาว ผลลัพธ์ของการดำเนินงานสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของแนวทางนี้ และข้อเสนอแนะสำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนเชิงนโยบายเพื่อบูรณาการสุขศาลาร่วมใจเข้ากับระบบสุขภาพระดับอำเภอ

References

กาญจนา เทียนลาย และ ธีรนงค์ สกุลศรี. (2555). ประชากรชายขอบ: มุมมองในเชิงประชากรและการกระจาย. ใน กุลภา วจนะสาระ และกฤตยา อาชวนิจกุล (บรรณาธิการ), ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย. (น. 37-58). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ไกรราช เทต้อม, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และ ธีรศักดิ์ พาจันทร์. (2560). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานสุขศาลาโดยชุมชนมีส่วนร่วมบ้านโสกนาค หมู่ที่ 8 ตำบลวังม่วง อำเภอเปื่อยน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(2), 211-222.

ถนัด ใบยา และ วิชัย นิลคง. (2564). การพัฒนาสุขภาวะชุมชนในพื้นที่สุขศาลาพระราชทานอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 17(2), 5-14.

นภดล สุดสม, ถนัด ใบยา, วิชัย นิลคง, ชัยวุฒิ วันควร, ธนเสฏฐ์ สายยาโน, พิษณุ อินปา, กรภัทร ขันไชย, เพ็ญพักตร์ ภิรัญคำ, วิภาพร ทิพย์อำมาตย์ และ กมลฉัตร จันทร์ดี. (2563). การพัฒนาสุขศาลาพระราชทานแบบมีส่วนร่วมบนฐานของชุมชนในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ จังหวัดน่าน (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สมชัย จิตสุชน. (2558). ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย:แนวโน้ม นโยบายและแนวทางขับเคลื่อนนโยบาย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2554). ความเหลื่อมล้ำ ฉบับพกพา. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูป (สปร.).

สุขศาลาพระราชทาน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2568). เครือข่ายและบทบาทในการพัฒนาสุขศาลาพระราชทาน. สืบค้นจาก http://suksala.hss.moph.go.th/pages/view/6.

สุปราณี สิทธิกานต์ และ ดารุณี จงอุดมการณ์. (2563) อุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมือง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 43(1), 19-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

เชื้อสำราญ ว., ใบยา ถ., อะทะไชย แ., จันทร์ดี ก., & กามินทร์ ว. (2025). การพัฒนาสุขศาลาร่วมใจแบบมีส่วนร่วมบนฐานของชุมชนในพื้นที่จังหวัดน่าน. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 7(1), 335–346. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/281576