About the Journal

เกี่ยวกับวารสาร MENARA : Journal of Islamic and Contemporary Issues (M-JICI)

วารสาร MENARA เป็นวารสารที่จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เกี่ยวกับประเด็นอิสลามร่วมสมัยและภาษาอาหรับร่วมสมัย  โดยสถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์บทความที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ต้องเป็นไปตามรูปแบบที่วารสารกำหนด วารสารตีพิมพ์เผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)

กระบวนการทบทวนบทความ (Peer Review Process) 

กองบรรณาธิการจะตรวจสอบคุณภาพผลงานวิชาการของผู้นิพนธ์ โดยส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน ที่มาจากหลากหลายสถาบัน ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญในด้านเนื้อหานั้น ๆ เพื่อประเมินคุณภาพผลงาน และพิจารณาก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้ ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ของผู้นิพนธ์ เป็นความเห็นส่วนตัว โดยกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป

การประเมินคุณภาพผลงานของผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นระบบไม่เปิดเผยชื่อผู้แต่ง (Double Blind- Peer Review) กองบรรณาธิการจะแจ้งความคืบหน้า และข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิแก่ผู้นิพนธ์ ผู้นิพนธ์ต้องแก้ไขบทความให้ถูกต้องครบถ้วน ตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วส่งคืนเพื่อให้กองบรรณาธิการตรวจทานก่อนตีพิมพ์เผยแพร่

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ด้านการวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ ที่เป็นประเด็นร่วมสมัยต่างๆ เกี่ยวกับอิสลามในประเทศอาหรับและโลกมุสลิม

2. เพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักวิชาการที่หลากหลายในประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับอิสลามและภาษาอาหรับ ไม่จำกัดเฉพาะประเทศไทยหรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3. เพื่อเป็นสื่อกระตุ้นและสนับสนุน ให้เกิดการวิจัย ค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง

ประเภทผลงานที่ตีพิมพ์

1. บทความวิจัย (Research Article) เป็นผลงานที่ได้มาจากการค้นคว้าและวิจัยด้วยตนเอง ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ การทบทวนวรรณกรรม และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และอ้างอิง

2. บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นผลงานที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการ มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยมุ่งเน้นการนำเสนอความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ประกอบด้วย บทนำ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา (เนื้อหาต้องชี้ถึงประเด็นของสิ่งที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจน) บทวิจารณ์หรือสรุป และอ้างอิง

ภาษาที่รับตีพิมพ์ 

1. ภาษาไทย

 2. ภาษาอังกฤษ

 3. ภาษามลายู

 4. ภาษาอาหรับ

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

ตึพิมพ์บทความฉบับภาษาไทย

1.ตีพิมพ์แบบปกติ

บุคคลภายในมหาวิทยาลัย    2,000  บาท

บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย   3,000  บาท

ตีพิมพ์บทความฉบับภาษาอังกฤษ อาหรับ และมลายู

1.ตีพิมพ์แบบปกติ

บุคคลภายในมหาวิทยาลัย    3,000  บาท

บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย   4,500  บาท