Publication ethics

จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editors)

  1. บรรณาธิการเป็นผู้พิจารณาความสมบูรณ์ และคุณภาพของบทความเป็นเบื้องต้น ก่อนเข้าสู่กระบวนของวารสาร โดยพิจารณาจากความเข้มข้นของเนื้อหา มีคุณภาพ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขต ตรวจการคัดลอกผลงานทางวิชาการ และพิจารณารับตีพิมพ์บทความด้วยความโปร่งใส ไม่เอนเอียง ไม่มีอคติ และมีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินและเป็นผู้ตัดสินในเลือกบทความเพื่อเข้าสู่กระบวนการการประเมินเพื่อรับการตีพิมพ์
  2. บรรณาธิการเป็นผู้ตัดสินใจเลือกบทความตีพิมพ์หลังผ่านกระบวนการประเมินแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความทันสมัย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร และกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ คำแนะนำในการส่งบทความ และรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้นิพนธ์ได้รับทราบและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามที่วารสารกำหนด
  3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใดๆ ระหว่างการดำเนินการเพื่อตีพิมพ์บทความในวารสาร ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินและเป็นผู้ตัดสิน กระบวนการพิจารณาเป็นการพิจารณาแบบปกปิดเป็นความลับ (double-blind) เพื่อป้องกันอคติ และป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น
  4. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ เพราะความสงสัย แต่ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ก่อน
  5. บรรณาธิการต้องวางใจเป็นกลาง ปราศจากอคติ ความลำเอียง และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ตรวจพิจารณาบทความ ทั้งนี้ บรรณาธิการต้องปกปิดมิให้ผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิทราบถึงตัวตนของกันและกันบรรณาธิการตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ และหากพบมีการคัดลอกผลงานผู้อื่นให้ติดต่อผู้เขียนเพื่อประกอบการรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ
  6. เมื่อบรรณาธิการได้รับผลการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิครบแล้ว ต้องตัดสินผลการประเมินด้วยความโปร่งใส ไม่เอนเอียง ไม่มีอคติ และไม่ใช้ความเห็นส่วนตัวพิจารณาว่าจะเผยแพร่บทความหรือไม่ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงองค์ความรู้ที่ได้จากบทความ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนในเชิงวิชาการที่เชื่อถือได้มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความนั้น

 

 

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ (Reviewers)       

  1. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของบทความ และผู้นิพนธ์ในทุกช่องทางแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาของการประเมิน
  2. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ไม่ว่าโดยการเป็นผู้นิพนธ์ร่วม หรือความเกี่ยวเนื่องผูกพันอื่น ๆ ที่จะทำให้ผู้ประเมินมีความลำเอียงในการประเมินหรือไม่สามารถประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ
  3. ผู้ประเมินบทความจะประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ หรือมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับศาสตร์นั้น ๆ โดยพิจารณาจากเนื้อหาของบทความ และประเมินบทความโดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ขององค์ความรู้ ความชัดเจนและความสอดคล้องของเนื้อหา โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
  4. ผู้ประเมินควรตรวจสอบความซ้ำซ้อนของบทความ หากพบว่ามีการคัดลอก เจตนาให้ข้อมูลเท็จ หรือปิดบังอำพราง ควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
  5. ผู้ประเมินบทความสามารถเสนอแนะงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความของผู้นิพนธ์ได้ในการประเมิน ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้มีอ้างถึงงานวิจัยนั้น ๆ

 

จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Authors)

  1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองผลงานของตนเองว่าเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน มีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรมทางวิชาการ ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้และต้องปรากฏในรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  2. ผู้นิพนธ์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนบทความตามที่วารสารกำหนดไว้ โดยเฉพาะรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง
  3. ผู้นิพนธ์ต้องแจ้งบรรณาธิการทันที หากพบความผิดพลาดในงานวิจัยที่ส่งผลต่อบทสรุปงานวิจัยของต้นฉบับที่อยู่ในกระบวนการประเมิน หรือบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว
  4. ผู้นิพนธ์บทความพึงนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ มีจุดมุ่งหมายในการเผยแพร่ผลงานเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่ขยายผลข้อค้นพบจนเกินความเป็นจริง ไม่ใช้ผลงานไปในทางมิชอบ