Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

Author Guidelines

คำแนะนำการเตรียมและส่งต้นฉบับ

วารสาร MENARA : Journal of Islamic Contemporary Issues (M-JICI)

กองบรรณาธิการ วารสาร MENARA : Journal of Islamic Contemporary Issues (M-JICI) ขอเชิญสมาชิกและผู้สนใจทุกท่าน ร่วมส่งบทความวิชาการ บทความวิจัย ที่เกี่ยวกับประเด็นร่วมสมัยต่างๆเกี่ยวกับอิสลามทั้งในประเทศอาหรับและโลกมุสลิม เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร โดยผลงานที่ส่งมาต้องเป็นผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จไม่เกิน 5 ปี ไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นเมื่อได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับเพื่อความเหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์ที่กองบรรณาธิการกำหนด ผู้เขียนจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของ MENARA : Journal of Islamic Contemporary Issues (M-JICI)

ชนิดของเรื่องที่จะตีพิมพ์

  1. บทความวิชาการเกี่ยวกับประเด็นอิสลามหรือภาษาอาหรับที่ร่วมสมัยไม่จำกัดเฉพาะประเทศไทยหรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  2. บทความวิจัยประเด็นอิสลามหรือภาษาอาหรับที่ร่วมสมัยต่างๆ ถ้าเป็นวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ต้องมีหนังสือรับรองและลงนามทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และนิสิตผู้ทำวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์
  3. บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) คือ งานเขียนที่ถ่ายทอดความคิดเห็น โดยนำเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นความรู้ ด้วยการใช้หลักวิชาที่เหมาะสม เพื่อวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นถึงข้อดี ข้อด้อย โดยชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของหนังสือที่จะวิจารณ์ และเสนอแนวทางแก้ไข ประกอบด้วยบทนำหรือประเด็นที่จะวิจารณ์ เนื้อหา บทสรุปและข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
  4. บทความปริทัศน์ (Review Article) คือ งานเขียนที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการเฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า ซึ่งมีการผสมผสานแนวคิด การทบทวนความก้าวหน้าของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และสรุปความรู้ในเรื่องนั้น ๆ จากหลาย ๆ การศึกษาจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำเสนอแนวคิด หรือองค์ความรู้ใหม่ โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้อย่างทันสมัย และมีข้อวิจารณ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป

เงื่อนไขในการพิจารณาผลงานเพื่อตีพิมพ์

วารสาร MENARA มีข้อตกลงในการส่งผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ ดังนี้

  1. ผลงานวิชาการนั้นต้องไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นเป็นผลงานวิชาการที่ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการที่ไม่มี Proceedings
  2. กองบรรณาธิการจะตรวจสอบคุณภาพผลงานวิชาการของผู้เขียน โดยส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเนื้อหานั้น ๆ  จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่อพิจารณาประเมินคุณภาพบทความก่อนตีพิมพ์
  3. การประเมินคุณภาพผลงานของผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นระบบไม่เปิดเผยชื่อผู้แต่ง (Double Blind- Peer Review) กองบรรณาธิการจะแจ้งความคืบหน้า และข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิแก่ผู้เขียน ผู้เขียนต้องแก้ไขบทความให้ถูกต้องครบถ้วน ตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วส่งคืนเพื่อให้กองบรรณาธิการตรวจทานก่อนตีพิมพ์เผยแพร่

การเตรียมต้นฉบับบทความวิชาการ/บทความวิจัย

  1. ต้นฉบับต้องพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป MS Word 97/03 for Windows ขนาดตัวอักษร 16 อักษรปกติ แบบอักษรใช้ Dillenia New พิมพ์หน้าเดียวในกระดาษ A4 ระยะขอบกระดาษ ด้านบน-ด้านล่าง 2.54 cm ด้านใน 3.17 cm ด้านนอก 2.54 cm จำนวน 12 หน้า (ไม่รวมรายการอ้างอิง) รายการอ้างอิงไม่เกิน 40 รายการ และมีเลขหน้ากำกับทุกหน้า
  2. ชื่อเรื่อง พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา มีชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  3. ชื่อผู้เขียน พิมพ์ชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยชิดขอบกระดาษด้านขวา ขนาดตัวอักษร 14 อักษรปกติ และให้ระบุตัวเลขเป็นตัวยกท้ายชื่อผู้เขียน เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน และ
    E-mail ของผู้เขียนบทความทุกท่าน ไว้เป็นเชิงอรรถในหน้าแรก
  4. ชื่อหน่วยงานของผู้เขียน พิมพ์ชื่อหน่วยงานผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่บรรทัดส่วนล่างสุด ในหน้าแรก ขนาดตัวอักษร 12 อักษรปกติ ควรระบุ หน่วยงานต้น เรียงไปจนถึง หน่วยงานหลัก และ E-mail (อย่างน้อยสำหรับผู้เขียนหลัก) และให้ระบุตัวเลขเป็นตัวยกท้ายชื่อหน่วยงานผู้เขียน เพื่อแสดงรายละเอียดชื่อผู้เขียนบทความ ทุกท่าน ไว้เป็นเชิงอรรถในหน้าแรก
  5. บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 20 บรรทัด หรือไม่เกิน 250 คำต่อบทคัดย่อ
  6. คำสำคัญ(Key words) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (จำนวน 3-5 คำ)
  7. การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจากหัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ ควรเว้นระยะพิมพ์เพิ่มอีก ช่วงบรรทัด
  8. การใช้ตัวเลข คำย่อ และวงเล็บควรใช้เลขอารบิคทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centered learning)
  9. บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

                     9.1 บทคัดย่อ (Abstract)

                     9.2 บทนำ (Introduction) ระบุความสำคัญของปัญหาการวิจัย กรอบแนวคิด และระบุวัตถุประสงค์การวิจัย

                     9.3 ระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology) ระบุแบบแผนการวิจัยการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การหาคุณภาพเครื่องมือ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

                     9.4 ผลการวิจัย/ผลการทดลอง (Results) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ

                     9.5 อภิปรายผล/วิจารณ์ (Discussion) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

                     9.6 ข้อเสนอแนะ (Suggestion) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และประเด็นสำหรับการวิจัยต่อไป

                     9.7รายการอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงไว้ในเนื้อหาเท่านั้นและให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด (แนบรายการอ้างอิง ภาษาไทยมาด้วย)

  1. บทความวิชาการ ประกอบด้วย

                 -   บทคัดย่อ (Abstract)

                 -   บทนำ (Introduction)

                 -   เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ

                 -   บทสรุป (Conclusion)

                 -   ข้อเสนอแนะ (Suggestion)

                 -   รายการอ้างอิง (References)

  1. การเตรียมเอกสารอ้างอิง

              ให้ใช้ APA Formatted References, 6th edition ศึกษารายละเอียดได้ที่ http://www.wooster. edu/psychology/apa-crib.html

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

  1. การอ้างอิงในเนื้อหา

          ใช้ระบบนาม-ปี (Name – year system) ชื่อผู้แต่งภาษาไทยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษและผู้แต่งภาษาอังกฤษให้เขียนเฉพาะนามสกุล ทุกคน ถ้ามากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อ 6 คนแรก ตามด้วย et al.,
ดังตัวอย่าง

(Siriphan, 2016)

(Jaranai, Kraithaworn, & Piaseu, 2016)

(Chongchareon, Kahawong, Apichato, Sangchandr, Chukumneard, Boonsin et al., 2016)

  1. การอ้างอิงท้ายบทความ
    • บทความทั่วไป ชื่อผู้แต่งภาษาไทยและผู้แต่งภาษาอังกฤษ ใส่ชื่อสกุลผู้ร่วมงานทุกคน ถ้าไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อทั้ง 6 คน หากมากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อ 6 คนแรกตามด้วยคำว่า “et al.,” สำหรับรายการอ้างอิงที่ไม่มีภาษาอังกฤษ ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งข้อความ และให้วงเล็บ (in Thai)
      ดังตัวอย่าง

Chartbunchachai, W. & Chotklom, P. (2013) Statistic of Patients who use Emergency Medical System (EMS Service) and the Patients who come to Receive Treatment at Emergency Rooms (ER Visit) of the hospitals under Office Permanent Secretary, Ministry of Public Health the fiscal year 2011. Trauma & Critical Care Center, Khon Kaen hospital: (in thai)

Suriyawongpaisarn, P., Srithamrongsawat, S., Hempisut, P., Aueasiriwon, B., Pholpark, A., Wannasri. A., et al., (2013) The Emergency Management System of the Regional Emergency Medical System. Health Insurance System Research Office (HISRO). Health System Research Intitute (HSRI). (in thai)

  • ผู้เขียนเป็นกลุ่มหน่วยงาน

National Institute of Emergency Medicine. (2014). The gap of Thai Emergency Medicine: Report Emergency Medical Service System 2013. (1st ed.) Bangkok. NP Press

Muangjunburee, P. (2012). Welding Engineering. Songkhla: Educational Technology, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University.

2.3 การอ้างอิงเฉพาะบทในหนังสือ

Sahieam, C. (2014). Nurse case management for clients with diabetes mellitus. In Sindhu S, Wongrod P. (editor). Case management for clients with diabetes mellitus and hypertension (2nd ed.) (pp.9-46). Bangkok: Wattanakanpim Printting.

Benedyk, J. (2010). Aluminum alloys for lightweight automotive structures. Materials, Design and Manufacturing for Lightweight Vehicles, Woodhead Publishing Series in Composites Science and Engineering, 79-113.

2.4 การอ้างอิงเอกสารจากอินเตอร์เน็ต

Kraonual, S. (2008). Impacts of the Unrest Situation in the Three Southern Border Provinces on Health Care Service System. Retrieved from http://www.deepsouthwatch.orgsites/default/files/Sunee%20-%20HealthSystem.pdf

Inada, K. A. (1995). Buddhist reponse to the nature of human rights. Journal of Buddhist Ethics Retrieved May 21, from http://www.psu.edu/ jbe.html

2.5 วิทยานิพนธ์

Siriphan, S. (2011). Development of an Instructional Model Emphasizing Cultural Competency of Nursing Students. A Dissertaion Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Doctor of Philosophy School of Educational Studies Sukhothai Thammathirat Open University. (in thai).

Tarrin Attachariya. (2009). Bayesian Alphas Predictability of the UK matket. Master’s Thesis, Department of Banking and Finance, Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University (in thai).

2.6 บทความในวารสาร

Sangnimitchaikul, W. (2012). Student-centered learning: A case study of Instructional model in

the nursing care of children and adolescents course at the faculty of Nursing, Thammasat University. Journal of Nursing and Education, 5(2), 64-76.

ตัวอย่างการเขียนบทความตามรูปเเบบของวารสาร

1.รูปเเบบบทความในภาษาไทย (Download)

2.รูปเเบบบทความในภาษาอังกฤษ (Download)

3.รูปเเบบบทความในภาษาอาหรับ (Download)

4.รูปเเบบบทความในภาษามลายู (Download)

ข้อแนะนำในการส่งต้นฉบับ

ขั้นตอนการส่งบทความวิชาการ/วิจัย ผ่านระบบออนไลน์

       เนื่องด้วย วารสาร MENARA : Journal of Islamic Contemporary Issues (M-JICI) กำลังดำเนินการให้เป็นวารสารออนไลน์จึงขอให้ผู้นิพนธ์ส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.เตรียมไฟล์ต้นฉบับตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ

2.ลงทะเบียนสมาชิก เข้าเว็บไซต์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/login ทำตามคำแนะนำสำหรับการใช้งานเบื้องต้นของระบบ ThaiJO (สำหรับผู้แต่ง Author) ซึ่งมีรายละเอียดตามหัวข้อดังนี้

           รอตรวจสอบสถานะ การตอบรับ/ปฏิเสธ ทาง E-mail

ขั้นตอนการส่งบทความวิชาการs/บทความวิจัย

ผู้นิพนธ์ ทั้งบุคคลภายใน และภายนอก ตรวจสอบและศึกษาขั้นตอนการส่งบทความวิชาการ/วิจัย พร้อมดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่เว็บไซต์ http://aias.pnu.ac.th/index

Research Articles

Policy

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.