ผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลหะดีษโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • Abdulmannan Madoromae สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

ผลการจัดการเรียนรู้, เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือตามรูปแบบ LT (learning together) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาอัลหะดีษของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เทคนิค LT (learning together)  3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน
ที่มีต่อการจัดการเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT (learning together) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปูยู ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT (learning together)  2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT (learning together) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที (t-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT (learning together) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 คือประสิทธิภาพ E1 = 82.08 / E2 = 81.02  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระวิชาอัลหะดีษก่อนและหลังเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT (learning together) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT (learning together) อยู่ในระดับมาก

References

ชนินทร์ พุ่มบัณฑิต. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเทคนิคการสอนแบบร่วมมือ (Learning Together: LT) สำหรับการเรียนการสอนวิชาการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางธุรกิจ ในยุคไทยแลนด์ 4.0. (รายงานผลการวิจัย). คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

นภาพร แปลงไลย์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องวงกลม โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

บุษบา โชคช่วยชู. (2537). ผลของการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พยมรัตน์ ภาโคกทม. (2550). ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านและการเขียนสรุปความวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกระบวนการกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบ LT. มหาสารคาม: มหาสารคาม.

พันธณีย์ วิหคโต. (2538). การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

รุจิรา เศารยะสกุล. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามรูปแบบ แอล.ที เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริวรรณ เพียรการ. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Learning Together (LT) เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรัตนโกสินทร์-รังสิต. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุดธาดา วงศรี. (2553). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเวลาชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือ (LT). การค้นคว้าอิสระสาขาวิชา คณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โสภา เพ็ชรสังข์. (2558). พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาการบัญชีห้างหุ้นส่วน เรื่องการรับหุ้นส่วนใหม่ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบร่วมมือรูปแบบ

การสอน LT. (รายงานผลการวิจัย) วิทยาลัยเทคโนโลยีหาดใหญ่อำนวยวิทย์.

โสรัจจ์ แสนคำ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง สารในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อารีนา หะยีเตะ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พยัญชนะและสระวิชาภาษามลายู สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำดำ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ. การค้นคว้าอิสระ

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อาหมัด มูดอ. (2558). การพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านจริยธรรม สาระอัลหะดีษ โดยใช้หนังสือนิทานสำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนต้นปีที่ 4. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ไอดา ยาคอ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค LT (Learning Together) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 3(1): 31-42.

Johnson, D., Johnson, R. (1975). Learning together and alone, cooperation, competition, and individualization. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

Madoromae, A. (2022). ผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลหะดีษโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มนารอ : วารสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย, 3(1), 29–40. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/M-JICI/article/view/256135