การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาอัลฟิกฮฺโดยใช้เกมกล่องกฎหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ไซฟูดิน เจ๊ะหะ สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
  • อับดุลรอแม สุหลง สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
  • มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

คำสำคัญ:

พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ , เกมกล่องกฎหมาย , นักเรียนชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลฟิกฮฺ เรื่อง การละหมาดโดยใช้เกมกล่องกฎหมาย ตามเกณฑ์มาตรฐาน
80 / 80 (2) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาอัลฟิกฮฺโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 80 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺเรื่อง การละหมาดโดยใช้เกมกล่องกฎหมายระหว่างก่อนเรียน
และหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรายวิชาฟิกฮฺโดยใช้เกมกล่องกฎหมาย กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนที่เรียนวิชาอัลฟิกฮฺชั้นประถมศึกษา
ปีที 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านพิเทน (วันครู 2502) อำเภอ ทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี จำนวนนักเรียน 28 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม
กล่องกฎหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงในรายวิชาอัลฟิกฮฺ (2) แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการละหมาด (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การละหมาด (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า (1) ค่าประสิทธิภาพของแผน
การจัดการเรียนรู้ของการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้เกมกล่องกฎหมาย มีค่าร้อยละโดยรวม เท่ากับ E1/E2 = 80.80/83.75 (2) ผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ได้ร้อยละ 80.09 โดยการเทียบเกณฑ์แล้วสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 80) วิเคราะห์โดยการทดสอบค่า t แบบ One Sample t-Test นั้นเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (gif.latex?\bar{x}= 80.09, S.D. = 5.63) (3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาอัลฟิกฮฺหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรีอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (gif.latex?\bar{x}= 80.80, S.D. = 83.75) (4) ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมกล่องกฎหมาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
(gif.latex?\bar{x}= 4.40, S.D. = 0.72)

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับประเทศไทย. (2545). หนังสือพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน พร้อมคำแปลภาษาไทย แปลไทยโดย. ชาอุดีอาราเบีย: อัลมุดดัษษิร

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี. (2556). การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ภูมิภัทร พันธ์ทองหลาง. (2551). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระหว่างกลุ่มที่ใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ กับกลุ่มที่ใช้การสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มณฑาทิพย์อัตตปัญโญ. (2542). การใช้เกมพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

วิไลวรรณ ถิ่นจะนะ. (2551). การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านทักษะการอ่านสะกดคำ โดยใช้เกมการศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). สํานักนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม.แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559) : ฉบับสรุป. (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

สุจริต เพียรชอบ. (2531). การพัฒนาการสอนภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชามัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคํา และคณะ. (2549). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. (พิมพครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

เจ๊ะหะ ไ. ., สุหลง อ., & เฮงยามา ม. . (2022). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาอัลฟิกฮฺโดยใช้เกมกล่องกฎหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. มนารอ : วารสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย, 3(1), 1–13. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/M-JICI/article/view/256165