ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกของนักเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา

Main Article Content

วารินันทน์ องอาจ
ภัทรกร แก้วเขียว

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการตัดสินใจ ส่วนประสมทางการตลาด และพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุก 2) เปรียบเทียบลักษณะประชากรกับพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุก และ3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนแผนกวิชาอาหารและโภชนาการ ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2566 ระดับชั้น ปวช. 1 - 3 การกำหนดขนาดตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรม G*power จำนวน 87 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมามีกระบวนการตัดสินใจ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนประสมทางการตลาด อยู่ในระดับมาก และพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุก อยู่ในระดับปานกลาง 2) ลักษณะทางประชากร ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่ได้รับต่อวันต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ และระดับชั้นปี่ที่กำลังศึกษามีพฤติกรรมการเลือกซื้อชานมไข่มุกไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา

Article Details

How to Cite
องอาจ ว., & แก้วเขียว ภ. . (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกของนักเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา. วารสารบริหารธุรกิจและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโยลีราชมงคลพระนคร, 2(2), 61–74. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/RMUTP_JBI/article/view/270186
บท
บทความวิจัย

References

เบญจพลอย โพธิพีรนันท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกดื่มชานมไข่มุก กรณีศึกษาร้าน Tea More. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

โรงพยาบาลเพชรเวช. (2564). ชานมไข่มุกกินอย่างไรให้ปลอดโรค กรุงเทพมหานคร

จันติมา จันทร์เอียด. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคชานมไข่มุกเขตเทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 13/2564.

ชัยณรงค์ ทรายคำ.(2552). องค์ประกอบที่การตัดสินใจซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้บริโภครีลำพูน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลในจังหวัดลำพูนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่

ณภัทคอร ปุณยภาภัสสร. (2553). โมเดลพฤติกรรมการบริโภคไข่ไก่ของคนไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 18(29) มกราคม-มิถุนายน, 59-86.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546).หลักและทฤษฎีกับการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อใหม่ของผู้บริโภค เชียงใหม่: ปริญญา บริหารมหาธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิกานดา ทองกำผลา. (2560). กระบวนการตัดสินใจเลือกบริโภคชานมไข่มุกของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-7/6114152047.pdf

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารตลาดยุคใหม่ (ฉบับปรุงปรุงใหม่) กรุงเทพมหานคร.

ธรรมสาร.

สรินยา อารีย์รักษ. (2562). กระบวนการตัดสินใจบริโภคชานมไข่มุกของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/mlw11/sec1/6014963011.pdf

สุดปรารถนา หนึ่งน้ำใจ กรรณิกา แสนสุข กิตติมา วงษ์คำ ชนากานต์ จันทะวงค์ ชมพูพรรณ กันตา ปรารถนา ภักดีแดง มนตรี ศรีอุทัย รัตนพงศ์ นิลรัตน์ ณรงค์ ใจเที่ยง. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15(36) มกราคม-เมษายน, หน้า 63-71.

หทัยทัต มณีชาติ. (2562). พฤติกรรมการบริโภคและความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดชานมไข่มุก: กรณีศึกษา Tiger Sugar. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Krungsri Plearn Plearn. (2566) “ชานมไข่มุก” วาระแห่งชาติของไต้หวัน เชื่อมสัมพันธ์เศรษฐกิจ:กรุงเทพมหานคร.

Tnnonline. (2562). คนไทยขึ้นแท่นแชมป์ “ดื่มชานมไข่มุก” สูงที่สุดในอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท มิลลาร์รี่ จำกัด.