ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็งของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอาหารแช่แข็งของกลุ่มวัยทำงานใน กรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็งของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็งของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น วัยทำงาน จำนวน 397 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า การวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็งของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก ( =3.54) (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอาหารแช่แข็งของกลุ่มวัยทำงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก ( =3.73) ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก ( =3.72) ด้านราคา อยู่ในระดับมาก( =3.69) ด้านสถานที่ อยู่ในระดับมาก ( =3.84) ด้านส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก ( =3.74) การทดสอบสมติฐานพบว่า (3) ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพและรายได้ต่อเดือน ต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็งของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านส่งเสริมการตลาด มีผลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็งของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความแต่เพียงผู้เดียว โดยกองบรรณาธิการวารสารจะไม่มีส่วนรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นในทุกกรณี
References
กมลรัตน์ สดวกการ. (2561). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งในร้านซีพีเฟรชมาร์ทของผู้บริโภคในเขตฝั่งธนบุรี.วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.). 2(1) มกราคม – เมษายน.
ชัยสิทธิ์ เอกพงศ์ไพศาล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหารสําเร็จรูป
แช่แข็ง จากร้านค้าปลีกแบบสะดวกซื้อ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ. 1(2), หน้า 1-20.
นิธิยา รัตนาปนนท์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุณยนุช บุญเฉลิมรัตน์. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้ออาหารทะเลแช่แข็งของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
บริษัท ฟาฟา จำกัด. (2563). กินอาหารแช่แข็งอย่างไร ให้ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ?. สืบค้นจาก https://www.fafacompany.com/กินอาหารให้ปลอดภัย/
ปิยะธิดา พลพุทธา, อนันต์ ปานศุภวัชร และกุลวดี สุวรรณไตรย์. (2564). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์. วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พรกมล วงศ์ข้าหลวง. (2562). การตัดสินใจซื้อสินค้าอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งผ่านช่องทางออนไลน์ของวัยทำงานในเขต กทม. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat17/6214060129.pdf
พิชศาล พันธุ์วัฒนา. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนเมืองวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. (26)2 (2019): พฤษภาคม-สิงหาค.
ภัทรนิษฐ์ ศรีบุรีรักษ์ และเปรมฤทัย แย้มบรรจง. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 10(ฉบับพิเศษ) กรกฎาคม, หน้า 136-148.
มหาวิทยาลัยสยาม. (2565). ทฤษฎีอาหารแช่แข็ง. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565. จาก http://www.reseach-system.siam.edu>RETAINED
วรางคณา บุญยงค์ และสุวลี โล่วิรกรณ์. (2561) พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของวัยแรงงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสารธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11(4) ตุลาคม-ธันวาคม, หน้า 1-9.
วิมลมาศ บัวเพชร และไกรชิต สุตะเมือง. 2556. ปัจจัยด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อความภักดีต่อแบรนด์ “เทสโก้ โลตัส”. วารสารการตลาดและการสื่อสาร, 1(1), หน้า 65- 80.
ศูนย์บริการลูกค้า เมคเซนด์ เอ็กซ์เพรส. (2564). 5 คุณสมบัติของอาหารแช่แข็งที่มีคุณภาพ ลูกค้าไว้วางใจได้. สืบค้นจาก https://www.makesend.asia/5-properties-of-frozen-food/
สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย. (2560). ผลิตภัณฑ์พร้อมรับประทาน (Ready to Eat) (Online). สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565 http://www.thai-frozen.or.th/product_gallery_ready.php
สำนักงานเขตประทุมวัน. (2564). จำนวนประชากรเขตปทุม. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565 จาก www.bangkok.go.th
สุรพลฟู้ด. (2562). อาหารแช่แข็ง. สืบค้นนเมื่อ 5 กันยายน 2565. จาก http://www.thai-frozen.or.th/
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2539). พฤติกรรมผู้บริโภค. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. (2547). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร.
Wu, Y., ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, อัครมณี สมใจ, วรรณนัฎฐา, ขนิษฐบุตร และสุดา สุวรรณาภิรมย์. (2565). ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็งผ่านระบบออนไลน์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 5(1) มกราคม-เมษายน, 2565, หน้า 53-64.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and Row.