ปัญหาว่าด้วยความไม่มีเสถียรภาพของรัฐธรรมนูญอันเกิดจากข้อจำกัดในเชิงกระบวนการของการใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญภายใต้มาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย นาจันทร์

คำสำคัญ:

อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ, ข้อจำกัดเชิงกระบวนการ, รัฐธรรมนูญนิยม

บทคัดย่อ

   รัฐธรรมนูญเป็นเอกสารทางกฎหมายที่แสดงถึงอุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐและเป็นเครื่องมือสำคัญในการก่อตั้งระบบกฎหมายขึ้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้เมื่อสภาพการณ์ต่าง ๆ ในสังคมเปลี่ยนแปลงไป โดยอาจมีการวางข้อจำกัดบางประการเพื่อให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่สามารถกระทำได้โดยง่ายนัก ส่วนหนึ่งเพื่อรักษาเสถียรภาพให้กับรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนภายใต้แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดนั้นจะต้องไม่ทำให้รัฐธรรมนูญไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ เพราะหากสถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไปและมีความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแต่ไม่สามารถกระทำได้เพราะข้อกำหนดเชิงกระบวนการแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการปลุกเอาอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้เพื่อล้มล้างและสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ อันเป็นสิ่งไม่พึ่งประสงค์สำหรับรัฐที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจากการค้นคว้าข้อมูลทางเอกสารผู้เขียนพบว่า ปัญหาและความสุ่มเสี่ยงเช่นนี้กำลังเกิดขึ้นภายใต้บทบัญญัติมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดขั้นตอนในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ยากและจัดอยู่ในระดับที่อาจไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้เลยในทางปฏิบัติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-09