จากสนธิสัญญากรุงโรมสู่สนธิสัญญามาสทริชท์

ผู้แต่ง

  • มานพ พรหมชนะ

คำสำคัญ:

สหภาพยุโรป, สนธิสัญญากรุงโรม, สนธิสัญญามาสทริชท์, ยูโร

บทคัดย่อ

สนธิสัญญาที่ขับเคลื่อนสหภาพยุโรปฉบับแรกรู้จักกันในนาม “สนธิสัญญากรุงโรม”เป็นหนึ่งในสนธิสัญญาพื้นฐานซึ่งก่อตั้งสหภาพยุโรป (EU) อีกฉบับหนึ่งคือ สนธิสัญญาสหภาพยุโรป หรือที่รู้จักกันในนามสนธิสัญญามาสทริชท์ สนธิสัญญากรุงโรมนำมาซึ่งการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อประชาคมยุโรป (EC) สนธิสัญญาเศรษฐกิจยุโรป (TEEC) มีบทบาทในการลดกำแพงภาษีและก่อตั้งสหภาพภาษีระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการสร้างตลาดเดียวสำหรับสินค้า แรงงาน บริการต่าง ๆ และเงินทุนระหว่างประเทศสมาชิก ยิ่งไปกว่านั้น ยังสร้างนโยบายการเกษตร การขนส่งร่วมกัน และยังก่อตั้งกองทุนยุโรป และที่สำคัญยังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป อนึ่ง สนธิสัญญาการปฏิบัติงานของสหภาพยุโรป (TFEU) มีที่มาจากสนธิสัญญาก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ลงนามที่กรุงโรมเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 และต้องรอกว่า 30 ปี กว่าจะมาถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 สนธิสัญญามาสทริชท์จึงถือกำเนิดขึ้น และสนธิสัญญานี้ได้ก่อตั้งสหภาพยุโรปขึ้น ขณะเดียวกันได้เปลี่ยนชื่อสนธิสัญญาประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) เป็นสนธิสัญญาก่อตั้งประชาคมยุโรป (TEC) และเรียงลำดับสนธิสัญญาใหม่ สนธิสัญญามาสทริชท์ยังปฏิรูปและก่อตั้งโครงสร้าง 3 เสาหลักให้แก่สหภาพยุโรปอีกด้วย ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับประชาคมยุโรป อย่างไรก็ตาม ชื่อของสนธิสัญญาดังกล่าวย้อนหลังกลับไปนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ได้มีการแก้ไขในหลายโอกาส สนธิสัญญามาสทริชท์ยังได้ตัดคำว่า “เศรษฐกิจ” ออกจากสนธิสัญญากรุงโรมอย่างเป็นทางการ และในปี ค.ศ. 2009 สนธิสัญญาลิสบอนได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “สนธิสัญญาการปฏิบัติงานของสหภาพยุโรป”

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-05