การฟ้องโต้แย้งคำสั่งทางปกครอง: ระบบอุทธรณ์แบบบังคับ

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ สิทธินวผล

คำสำคัญ:

ระบบอุทธรณ์แบบบังคับ, ระบบอุทธรณ์แบบไม่บังคับ, ศาลปกครอง, คำสั่งทางปกครอง, กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง

บทคัดย่อ

ระบบอุทธรณ์แบบบังคับของกระบวนการยุติธรรมในศาลปกครองไทยนั้น กำหนดให้มีการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งภายในฝ่ายปกครองก่อนฟ้องคดี แม้ว่าจะมีข้อดีในส่วนที่เป็นการช่วยแก้ไขความเดือดร้อนหรือความเสียหายของบุคคลผู้ถูกละเมิดหรือผู้ได้รับผลกระทบต่อสิทธิของตนได้รวดเร็วกว่ากระบวนการพิจารณาคดีของศาล เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง หรือผู้บังคับบัญชาได้ทบทวนตรวจสอบการใช้อำนาจทางปกครองของตนอีกครั้ง และทำให้ข้อพิพาทระงับลงโดยฝ่ายปกครองก็ตาม ทว่าข้อบกพร่องของระบบนี้นั้น เป็นขั้นตอนที่ทำให้การวินิจฉัยข้อพิพาทของคู่กรณีล่าช้าออกไปอีก เนื่องจากหน่วยงานทางปกครองส่วนใหญ่มักจะยืนยันคำสั่งของตนและยกอุทธรณ์ข้อโต้แย้งของคู่กรณีเพื่อให้มีการฟ้องคดีต่อศาลต่อไป อีกทั้งหากผู้ฟ้องคดีไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อฝ่ายปกครองก่อน หรือยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลา หรืออุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด อันเป็นความผิดพลาดในการยื่นอุทธรณ์ของคู่กรณี ซึ่งเกิดจากความไม่รู้กฎหมายและไม่เข้าใจถึงการใช้สิทธิตามกฎหมายของตน ก็จะมีผลเป็นการตัดสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-05