การตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการโดยองค์กรภายนอก: ศาลยุติธรรมและศาลปกครอง

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ สิทธินวผล

คำสำคัญ:

ศาลยุติธรรม, ศาลปกครอง, คำสั่งไม่ฟ้อง

บทคัดย่อ

การสั่งคดีของพนักงานอัยการแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ อันประกอบด้วยหลักการฟ้องคดีอาญาตามกฎหมาย และหลักการฟ้องคดีอาญาตามดุลพินิจ โดยคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาของพนักงานอัยการในฐานะทนายแผ่นดินอันมีผลกระทบต่อสถานภาพถึงสิทธิของผู้เสียหายในคดีเข้าลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง แต่จากแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด กลับมองว่าคำสั่งไม่ฟ้องดังกล่าวของพนักงานอัยการไม่ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

ทว่าก็มีมาตรการทางกฎหมายเพื่อตรวจสอบดุลพินิจของพนักงานอัยการให้เป็นไปโดยชอบด้วยหลักแห่งนิติธรรมและความโปร่งใสอันสามารถตรวจสอบได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อองค์กรภายนอก โดยส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมด้วยคำสั่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัด อันเป็นการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการโดยทางตรง รวมถึงศาลยุติธรรมก็สามารถเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบถ่วงดุลคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 200 โดยทางอ้อม ในกรณีที่พนักงานอัยการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของการดำเนินคดีที่กำหนดไว้ ซึ่งถือเป็นการตรวจสอบถ่วงดุลในชั้นที่สุดของกระบวนการยุติธรรม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24