สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขโครงสร้างการบริหารองค์กรตำรวจไทยในปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

โครงสร้างการบริหาร, องค์กรตำรวจไทย, การบริหารงานตำรวจไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาโครงสร้างการบริหารองค์กรตำรวจไทยในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาโครงสร้างองค์กรตำรวจไทยในปัจจุบัน และเพื่อศึกษาและนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาองค์กรตำรวจไทย ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเคราะห์และวิเคราะห์จากเอกสารทุติยภูมิและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าองค์กรตำรวจมีปัญหาระดับมหภาคจำนวน 5 ประเด็น และผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการแก้ไขไปในแต่ละประเด็นดังนี้ (1) ปัญหาโครงสร้างกิจการตำรวจแบบรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งแก้ไขโดยการปฏิรูปองค์กรให้มีโครงสร้างแบบกระจายอำนาจ (2) ปัญหาภาระงานของตำรวจที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมมีปริมาณมาก ซึ่งแก้ไขโดยการโอนถ่ายภารกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมไปให้หน่วยงานอื่นรับผิดชอบ (3) ปัญหากลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจตำรวจที่มีเพียงหน่วยงานภายในทำหน้าที่เท่านั้นไม่มีหน่วยงานภายนอกเข้าร่วมภาคี ซึ่งแก้ไขโดยการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระที่มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (4) ปัญหาการบริหารสถานีตำรวจที่ไม่มีประสิทธิภาพ แก้ไขโดยการจัดแบ่งภาระงานตามความเชี่ยวชาญโดยให้ตำรวจปฏิบัติงานด้านคดีเท่านั้นส่วนงานธุรการอื่น ๆ มอบหมายให้เอกชนมืออาชีพดำเนินการแทน (5) ปัญหาโครงสร้างงานสอบสวนที่ไม่เป็นอิสระ แก้ไขโดยการแยกระบบงานสอบสวนมาจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระเหมือนองค์กรอัยการทำหน้าที่เฉพาะงานฝ่ายคดีคู่กับพนักงานอัยการเพื่อสร้างต้นทางแห่งกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อประชาชน

References

กฤษณพงค์ พูตระกูล. (2564). พฤติกรรม ผู้กำกับโจ้ สะเทือนวงการ ได้เวลาปฏิรูปตำรวจ โละระบบตั๋ว โควตา. สืบค้นวันที่ 27 สิงหาคม 2564, จาก https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2178005

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2556). แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการคดีในสถานีตำรวจ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการวุฒิสภา.

ชัยเกษม นิติสิริ. (2554). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 2 สอบสวน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี และ อุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2555). การนำกลยุทธ์แบบ Community Policing

มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันอาชญากรรมในเขตเมือง: กรณีศึกษา ชุมชนในเขตลาดพร้าว บางนา และบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารกระบวนการยุติธรรม. 5(3), น. 55-57.

ณรงค์ ใจหาญ. (2563). เอกสารคำสอนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). นโยบายเข้าปี 5 บิ๊กแป๊ะ ปกป้องสถาบัน-รับฟังประชาชน. สืบค้นวันที่ 17 มีนาคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/1675881

นพดล เพ็ชรคำ. (2535). การเมืองกับตำรวจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. (2564). การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2564,

จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title

ประเสริฐ บุญนิรันดร์ และจรูญ ศรีสมบัติ. (2536). ระบบตำรวจนานาชาติ (World Police), กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.

ปรีดา สถาวร. (2565). ตำรวจกับการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของไทย. สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2565,

จาก https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5710038

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2530). การบริหารงานตำรวจ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

พงษ์ศักดิ์ เฉลิมแสน. (2541). การปรับปรุงโครงสร้างกิจการตำรวจไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหงX.

พชิรา โรจนพิทยากร. (2551). การบูรณาการแนวคิดการจัดการภาครัฐในการแก้ปัญหาการขาดแคลนและความเหลื่อมล้ำในการกระจายของแพทย์ในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรเทพ ประเสริฐพันธุ์. (2542). การศึกษาเจตคติของผุ้บริหารต่อการปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

วรเดช จันทรศร. (2528). การปฎิรูปงานตำรวจไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 23 (4), น. 444.

วรัชยา ศิริวัฒน์. (2554). การบริหารร่วมสมัย (Contemporary Administration). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2565). ประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญา. สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2565, จาก https://www.krisdika.go.th.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2565). พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2545. สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2565, จาก http://web.krisdika.go.th/ipads/data/act003minisBureDepMo45.pdf.

สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. (2564). แผนปฏิบัติราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สืบค้นวันที่ 27 สิงหาคม 2564,

จาก https://www.royalthaipolice.go.th/downloads/plan64-1.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระปฏิรูปที่ 6: การปฏิรูปกิจการตำรวจ. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สิริวัฒก์ เมนะเศวต. (2543). การเมืองกับการปรับโครงสร้างกรมตำรวจเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิโรจน์ สิทธิชาญบัญชา. (2539). หลักการบริหารงานตำรวจ. ส่วนบริการบริหารตำรวจ: กองบังคับการวิชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ้างถึงใน ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ. (2563). เปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นตำรวจของประเทศต่าง ๆ. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุนีย์ กัลป์ยะจิตร และณัฏฐาภรณ์ โสกัณฑัต. (2559). โครงการประเมินผลการปฏิบัติงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร : กองแผนอาชญากรรม สำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

อัณณพ ชูบำรุงและคณะ. (2535). การปรับปรุงโครงสร้างตำรวจไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนา.

อุดม รัฐอมฤต. (2563). ตำรวจในกระบวนการยุติธรรม. เอกสารบันทึกคำบรรยายระดับดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารกระบวนการยุติธรรม : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุทัย อาทิเวช. (2558). เอกสารประกอบการสอนเรื่องกระบวนการยุติธรรมระดับสูง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เอกพล บรรลือ. (2565). ตำรวจไทย มีไว้ทำอะไร คำถามจากวิกฤตศรัทธาที่สังคมต้องช่วยกันหาทางออก. สืบค้นวันที่ 27 มกราคม 2565, จาก https://themomentum.co/momentum-feature-corruption-and-crisis-of-thai-police/.

เอแบคโพลล์. (2563). การสำรวจภาพลักษณ์ตำรวจไทยในสายตาประชาชน. สืบค้นวันที่ 17 มีนาคม 2563,

จาก https://www.ryt9.com/s/abcp/154524

โกสินทร์. (2565). ปฏิรูปองค์กรตำรวจ. สืบค้นวันที่ 27 มกราคม 2565, จาก https://www.posttoday.com/politic/news/279614

Aldous, Christopher. (1997). The Police in Occupation Japan: Control, corruption, and resistance to reform. New York: Routledge.

Hood, Christopher. (1991). A Public Management for all seasons?, in Public Administration, 69 (1), pp. 3-19.

Weber, Max. (1992). Bureaucracy, in Jay M. Shafritz and Albert C. Hyde. Classics of Public Administration, pp. 63-67. California: Brooks/Cole Publishing Company.

Osborne and Stephen P.. (2010). Introduction the New Public Governance: a suitable case for treatment? in The New Public Governance: Emerging Perspectives on the theory and Practice of Public Governance. Edited by Osborne, Stephen P. London. pp. 1-12. New York : Routledge.

Merton, Robert K.. (1936). The Unanticipated Consequences of Purposive Social Action. American Sociological Review, 1 (6).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25