การดำเนินคดีอาญาโดยผู้มีอำนาจจัดการแทน กรณีศึกษา เด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

ผู้แต่ง

  • อภินันท์ ศรีศิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., หัวหน้าหมวดกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การดำเนินคดีอาญา, ผู้มีอำนาจจัดการแทน, เด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

บทคัดย่อ

             บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาปัญหาทางกฎหมายการดำเนินคดีอาญาโดยผู้มีอำนาจจัดการแทน ศึกษากรณี เด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า เกิดปัญหาทางกฎหมายไม่ชัดเจนในเรื่องอำนาจจัดการแทนของบุพการีและผู้สืบสันดาน เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ไม่ได้ระบุถึงสิทธิหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาไว้ นำมาสู่การกำหนดประเด็นการดำเนินคดีอาญาของผู้มีอำนาจจัดการแทน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างบุพการีกับผู้สืบสันดาน จากการวิเคราะห์ พบว่าความเป็นบุพการีของผู้สืบสันดานกรณีเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์มีอำนาจในการจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ โดยยึดหลักความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม หลักความสัมพันธ์ทางชีวภาพ และหลักการยึดเจตจํานง แล้วแต่กรณี และตามหลักการใช้และการตีความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เห็นว่า ไม่ขัดต่อเจตนารมณ์การกำหนดการให้อำนาจแก่ผู้เสียหายที่แท้จริงและผู้มีอำนาจจัดการแทนในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาปัจจุบัน โดยมีข้อเสนอแนะในการนิยามบุพการี ผู้สืบสันดาน และกำหนดสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของชายหรือหญิงที่บริจาคอสุจิหรือไข่ซึ่งนำมาใช้ปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์หรือผู้บริจาคตัวอ่อนและเด็กที่เกิดจากอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนที่บริจาค นัยเดียวกันกับการกำหนดสิทธิหน้าที่ในทางแพ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558

References

คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ณรงค์ ใจหาญ. (2565). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

นิรันดร์ ทรงนิรันดร์ (2560). วิวัฒนาการทางการแพทย์เกี่ยวกับการเจริญพันธุ์อันมีผลต่อกฎหมายว่าด้วยบุคคล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, (8 ฉบับพิเศษ), 35-67.

ยศศักด์ โกโศยกานนท์. (2558). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายอุ้มบุญ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

สุรเดช จารุจินดา. (2561). กฎหมายอุ้มบุญในความเป็นบิดามารดาต่อบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (เอกสารวิชาการส่วนบุคคล). หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่น 6 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์, (2565). รับไม่ได้! สาวญี่ปุ่นประกาศ ‘ทิ้งลูก’ เรียกค่าเสียหายร่วม 100 ล้าน หลังพบผู้บริจาคอสุจิเป็น ‘คนจีน’ แต่งประวัติหลอกลวง. สืบค้นวันที่ 17 มกราคม 2565, จาก https://mgronline.com/around/detail/9650000005060.

Dorfman, Doron. (2016). Surrogate parenthood: between genetics and intent. Journal of Law and the Biosciences, 3 (2), 404-412.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29