ปัญหาและอุปสรรคในการเปิดหลักสูตรปริญญาเอก ศึกษากรณีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • กฤษรัตน์ ศรีสว่าง รองศาสตราจารย์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110, kritsarat.sr@gmail.com
  • จิราพร ยะถาวร นักวิชาการอุดมศึกษาชำนาญการ, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110, jiraporn.ya@psu.ac.th
  • ชนิกานต์ สายทองอินทร์ นักวิชาการอุดมศึกษา, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110, chanikan.s@psu.ac.th
  • วศิน สุวรรณรัตน์ รองศาสตราจารย์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110, wasin.s@psu.ac.th
  • จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110, jumphon.c@psu.ac.th

คำสำคัญ:

นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, หลักสูตรบัณฑิตศึกษา, ปัญหาและอุปสรรค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเปิดหลักสูตรปริญญาเอก ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า การเปิดหลักสูตรปริญญาเอกมีปัญหาและอุปสรรคโดยเฉพาะประเด็นการกำหนดชื่อหลักสูตร จำนวน คุณวุฒิ และคุณสมบัติของอาจารย์ งบประมาณ บุคลากร และสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก นอกจากนี้มีข้อเสนอแนะ 1) ให้เปิดหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตเนื่องจากสอดรับกับหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตที่คณะได้เปิดรับนักศึกษาและจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน 2) การมีมาตรการควบคุมและมาตรการสนับสนุนให้มีจำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ 3) การกำหนดรายการรายจ่ายงบประมาณที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาให้มีความครอบคลุมในทุก ๆ กิจกรรมที่จำเป็นจะต้องมีการใช้จ่ายและมีจำนวนงบประมาณที่เพียงพอต่อการใช้จ่าย 4) การเปิดรับอาจารย์ใหม่ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเพื่อมาทำหน้าที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร และมีแผนการพัฒนาอาจารย์ประจำที่กำลังอยู่ปฏิบัติงานในปัจจุบันให้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก อีกทั้ง 5) ควรจัดให้มีห้องบรรยายสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา ห้องทำงานนักศึกษาบัณฑิตศึกษาและที่นั่งอ่านหนังสือของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาในห้องสมุดเป็นการเฉพาะเพิ่มเติม

References

กิติพงศ์ หังสพฤกษ์ วิกรณ์ รักษ์ปวงชน วิมาน กฤคพลวิมาน สุจินตนา ชมวิสูตร จิราพร สุทันกิตระและวรรณวิภา เมืองถ้ำ. (2560). ความต้องการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6 (2-02), 609-610.

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2559 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 212 ง วันที่ 22 กันยายน 2559

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2566). ประวัติคณะนิติศาสตร์. สืบค้นวันที่ 12 มกราคม 2566, จาก https://law.psu.ac.th/index.php/about/about.html

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 212 ง วันที่ 9 กันยายน 2565

พนารัตน์ วิศวเทพนิมิต ขวัญตา บุญวาศ จิราพร วรวงศ์ พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติและจุฬารัตน์ ห้าวหาญ. (2564). การศึกษาความพร้อมในการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก และความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31 (3), 119-121.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2559 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 53 ก วันที่ 21 มิถุนายน 2559

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2566). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้นวันที่ 12 มกราคม 2566, จาก https://planning.psu.ac.th/documents/information/planning/60-79/plan20years.pdf

วิทยา เจียรพันธุ์ สมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวรและอภิชัย พันธเสน. (2563). ความต้องการกำลังคนระดับปริญญาเอกของประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 8 (3), 6-10.

ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์. (2566). ห้องทำงานสำหรับนักศึกษาปริญญาโท-เอก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นวันที่ 12 มกราคม 2566, จาก https://www.facebook.com/TULawLibrary/posts/1108233842618285/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28