ปัญหาทางกฎหมายในการขายยาสัตว์ออนไลน์
คำสำคัญ:
กฎหมายเกี่ยวกับยาสัตว์ , การขายยาสัตว์ออนไลน์, สัญญาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขายยาสัตว์ออนไลน์ทั้งของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ เพื่อเป็นแนวทางให้การขายยาสัตว์ออนไลน์ในประเทศไทยได้รับการแก้ไข ปรับปรุง หรือเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม ปลอดภัยและสอดคล้องกับการพัฒนาของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน รวมถึงสถานการณ์และบริบททางสังคมในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า การขายยาสัตว์ออนไลน์ในประเทศไทยมีปัญหาทางกฎหมายที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) ปัญหาการกำหนดประเภทของยาสัตว์ที่ห้ามขายออนไลน์ 2) ข้อจำกัดเกี่ยวกับการกำหนดสถานที่ขายยาสัตว์ซึ่งต้องขายในสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตซึ่งมีปัญหาการตีความว่าหมายความรวมถึงการขายยาสัตว์ออนไลน์หรือไม่ 3) การยืนยันตัวตนของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการคือสัตวแพทย์หรือเภสัชกรผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้คำปรึกษาผ่านระบบออนไลน์แก่ผู้ซื้อเสมือนว่าได้ให้คำปรึกษาโดยตรง และ 4) การระบุตัวตนของสัตว์และเจ้าของสัตว์ที่ส่งผลให้อาจมีการแอบอ้างซื้อยาสัตว์ไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย
ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้มีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการขายยาสัตว์ออนไลน์ไว้เป็นการเฉพาะ โดยอนุญาตให้มีการขายยาสัตว์ออนไลน์ได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องมีสถานที่กายภาพที่แน่นอนเป็นสถานที่ขาย มีสัตวแพทย์หรือเภสัชกรเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำอยู่ ณ สถานที่ขายตลอดเวลาที่เปิดทำการและทำการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์เมื่อขายยาสัตว์ โดยมีระบบที่ผู้ซื้อสามารถได้รับการประเมินและปรึกษาได้เสมือนว่าอยู่ต่อหน้า และยังเห็นควรกำหนดมาตรการให้สัตว์เลี้ยงต้องได้รับการฝังไมโครชิปและขึ้นทะเบียนเพื่อระบุตัวตนของสัตว์และเจ้าของสัตว์
References
กองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์. (2563). การใช้การตีความกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
กันธิชา รัตนาธนภูวดล. (2565). การจำหน่ายยาแผนปัจจุบันผ่านระบบออนไลน์ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510. (รายงานการศึกษาอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาเขตหนองคาย).
จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2551). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและสัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 4. แก้ไขเพิ่มเติมโดย ดาราพร ถิระวัฒน์. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นภัทร ค. (2560). ว่าด้วยชีวิตหมา ๆ ในอเมริกาจะเป็นอย่างไรบ้างตามมาดูกัน. สืบค้นวันที่ 2 มิถุนายน 2565, จาก https://dayinus.com/dog-life-usa/
ประพิมพ์พรรณ เงินทิพย์. (2554). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
พรรณวิภา วงศ์พานิช. (2558). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่อาจเป็นอันตราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายและการจัดการ) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
พินัย ณ นคร. (2561). กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
วิษณุ เครืองาม. (2549). คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2564). คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ศศิ เจริญพจน์. (2560). การพัฒนาระบบควบคุมยาสัตว์ วัตถุอันตราย (ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ) และเชื้อดื้อยาในการเลี้ยงสัตว์. กรมปศุสัตว์.
สถาบันพระปกเกล้า. (2562). ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557. สืบค้นวันที่ 16 ธันวาคม 2564, จากhttps://www.kpi.ac.th/media/pdf/book/e-book
สำนักข่าวคมชัดลึก. (23 มกราคม 2562). ไทย “สุนัข-แมว” จรจัดพุ่ง 5 ล้านตัวอีก 20 ปี. คมชัดลึก. สืบค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2565, จาก https://www.komchadluek.net/news/359978
สำนักข่าวฐานเศรษฐกิจ. (8 เมษายน 2565). เปิดตัว “MyFriend” แอปฯ ดูแลสัตว์เลี้ยงครบวงจรแห่งแรกในไทย. ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2565, จาก https://www.thansettakij.com/tech/520635
สำนักข่าวไทยรัฐ. (27 มีนาคม 2565). วางยา 2 แม่ลูก ฉกร้านทอง 5 บาท ฝีมือลูกจ้างสาวตั้งท้อง. ไทยรัฐ. สืบค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2565, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2351680
สำนักข่าวมติชน. (13 ตุลาคม 2556). ระวังมิจฉาชีพมอม “สารไซลาซีน” ก่อนปลดทรัพย์. มติชน. สืบค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2565, จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=277821
สำนักข่าวเวิร์คพอยท์. (25 มิถุนายน 2563). พบ “ไซลาซีน” ยาสลบสัตว์ในขวดน้ำดื่ม ที่นักวิ่งวางไว้ตอนไปวิ่งในสวนสาธารณะ. เวิร์คพอยท์. สืบค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2565, จาก https://workpointtoday.com/ poison-2/
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). สัญญาต้องเป็นสัญญา การก่อให้เกิดสัญญาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองผู้บริโภคในการทำสัญญาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเด็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม. สืบค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2564, จากhttps://isoc.msu.ac.th/ebooks/ ICT_LAW_Online_consumer.pdf
U.S. Food and Drug Administration. (2017). Prescription Drugs and Over-the-Counter (OTC) Drugs: Questions and Answers. Retrieved June 1, 2022, from https://www.fda.gov/drugs/frequently-asked-questions-popular-topics/prescription-drugs-and-over-counter-otc-drugs-questions-and-answers
Veterinary Medicines Directorate. (2020). Sell veterinary medicines on the internet. Retrieved June 9, 2022, from https://www.gov.uk/guidance/sell-veterinary-medicines-on-the-internet
V.P. Studdert, C.C. Bay, D.C. Blood. (2012). Saunders Comprehensive Veterinary Dictionary. 4th Edition. Saunders Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นของวารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์มีสิทธิในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือรวบรวมบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ความคิดเห็นใด ๆ ของผู้เขียนในบทความ กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย ทั้งนี้กองบรรณาธิการวารสารไม่สงวนสิทธิในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย