แนวทางการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1

ผู้แต่ง

  • Pichamon Takmatcha วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • Vorachai Viphoouparakhot

คำสำคัญ:

แนวทางการส่งเสริม, วิจัยในชั้นเรียน ,ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยการส่งเสริมวิจัยในชั้นเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความคิดเห็นของครูโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต1 ต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เสนอแนว ทางการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามความคิดเห็น ได้แก่ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต1 จำนวน  298 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ให้การสัมภาษณ์ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นครูปรากฏว่า  ระดับการปฏิบัติการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับดีมาก ผลการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาได้ข้อสรุปแนว ทางในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารควรมีนโยบายกระตุ้นให้ครูทุกคนทำวิจัยชั้นเรียน สนับสนุนการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยให้กับครู สนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการอำนวยความสะดวกในการทำวิจัยในชั้นเรียน สร้างความตระหนักและแรงจูงใจ กำกับติดตามการดำเนินงานวิจัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

References

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่
แกไข้เพิ่มเติม (ฉบบั ที่2)พ.ศ.2545
และ(ฉบับที่3). กรุงเทพฯ :คุรุสภา
ลาดพร้าว.
จรูญ คูณมี. (2558). รายงานการวิจัยบทบาทของ
ผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริม
การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุบลราชธานี.บัณฑิต
วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชธานี.
เลขหน้า : 117-128 ปี พ.ศ.2556.,
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). คู่มือการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัยและ
วิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7).
กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท.
วิภารัตน์ เสนี. (2560). การส่งเสริมการทำวิจัยใน
ชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา
ตามความคิดเห็นของครู สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3.,
(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาบริหาร
การศึกษา,มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).
สุธาภรณ์ วรกาญจนกุล. (2556). กระบวนการ
ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน
โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอ
กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย).
สุวิมล สิทธิมงคล. (2561). บทบาทการส่งเสริมการ
ทำวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหาร
สถานศึกษาในโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 7.,
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
(2554ก). การวิจัยเพื่อพัฒนาการ
เรียนรู้ (Research for Learning
Development) .กรุงเทพฯ :โรง
พิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.สำนักงาน
Calhoun,E. (2013). Becoming critical :
Education,Knowledge, and
action research.London :
Falmer Press.
Curricula, School Science and
Mathematics. p.180 – 193
30(3), 607-610.
Education
Volume 20, 2017 - Issue 1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย