เจตคติผู้บริหารบริษัทไทยที่มีต่อการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 2015-2030
คำสำคัญ:
เจตคติผู้บริหารบริษัทไทย, ธุรกิจแบบยั่งยืน, การพัฒนาที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อตรวจสอบ 1) การตระหนักรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างคุณค่าร่วมของธุรกิจ (CSV) ของผู้บริหารธุรกิจไทย 2) เจตคติของผู้บริหารธุรกิจไทยต่อการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน (SD) และแรงจูงใจในการเปิดเผยข้อมูลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม (CSR) หรือ SD โดยสุ่มตัวอย่างบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน ในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 72 บริษัท จาก 724 บริษัท ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้บริหารร้อยละ 20 มีความรู้ความเข้าใจนิยามการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติและการสร้างคุณค่าร่วมของธุรกิจ 2) ผู้บริหารทุกบริษัทที่ให้สัมภาษณ์มีนโยบายด้าน CSR เพื่อรักษาสมดุลระหว่างผลกระทบต่อสังคมทั้งทางบวกและลบ ร้อยละ 98 มีการจัดทำรายงานด้าน CSR และ SD ลักษณะเด่นของบริษัทไทยคือมีแนวทางการพัฒนาธุรกิจโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผสมผสานหลักคำสอนทางพุทธศาสนา ผู้บริหารร้อยละ 50 มีมุมมองต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทมากกว่าการสร้างคุณค่าร่วมของธุรกิจ และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ ตลท. ขณะที่ผู้บริหารบริษัทขนาดเล็กที่ให้สัมภาษณ์ มุ่งผลประกอบการทางการเงินของธุรกิจเป็นสำคัญ
References
Ellen Macarthur Foundation. (2015). Towards a circular economy: Business rationale for an accelerated transition. Retrieved April 2020, 20, from https://www.ellenmacarthurfoundation.org/assets/downloads/TCE_Ellen-MacArthur-Foundation_9-Dec-2015.pdf
Fisk, P. (2010). People, planet, profit: How to embrace sustainability for innovation and business. London: Kogan Page.
Hart, S. L., & Milstein, M. B. (2003). Creating sustainable value. Academy of management executive, 17(2), 56-69. Retrieved April 2020, 20, from https://www.academia.edu
/24853094/Creating_sustainable_value
Hawken, P. (2010). The ecology of commerce revised edition: A declaration of sustainability. New York: Happer Collins Books.
Porter, M. E., & Kramer, M. R. (2011). The big idea: Creating shared value. CFA Digest, 41(1), 12-13.
United Nations Thailand. (2015). เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/
กันต์ฤทัย คลังพหล. (2563). การวิจัยแบบผสมวิธี = Mixed methods research. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 235-256.
กระทรวงการต่างประเทศ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.). ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563, จาก https://bit.ly/30LY8lE
บีบีซี (British Broadcasting Corporation : BBC).(2019). ภัยแล้ง : งานวิจัยชี้ประชากรโลก 2.6 พันล้านคน อาศัยอยู่ในประเทศที่ขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2019 จาก https://bbc.in/2CvW0nG
ธนาคารแห่งประเทศไทย กองบรรณาธิการ. (2562). สฤณี อาชวานันทกุล ผู้ปลูก "ต้นกล้าแห่งธุรกิจที่ยั่งยืน" ในสังคมไทย. BOT พระสยาม Magazine, (4), 52-55. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก https://bit.ly/2B9wioE
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). โครงสร้างการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจของตลาดหลักทรัพย์ฯ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563, จาก https://bit.ly/3ebn6yM
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). สรุปจำนวนหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2563, จาก https://www.set.or.th/set/marketstatistics.do#
โยธิน แสวงดี. (2558). แนวคิดและหลักการของการวิจัยเชิงคุณภาพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์. (2560). แก่นสารของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TEDxThammasatU 2017). สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563, จาก http://www.salforest.com/blog/heart-of-sustainable-development