การรับรู้ของนักศึกษาจีน เรื่องการจัดการความปลอดภัยในสถานการณ์ COVID-19 และส่วนประสมทางการตลาดบริการในการเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยไทย
คำสำคัญ:
การจัดการความปลอดภัย, ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, COVID-19บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ของนักศึกษาจีนเรื่องการจัดการความปลอดภัยในสถานการณ์ COVID-19 2) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการในการเลือกเรียนของนักศึกษาจีน
ที่มหาวิทยาลัยไทย และ 3) วิเคราะห์การรับรู้การจัดการความปลอดภัยในสถานการณ์ COVID-19 และส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกเรียนของนักศึกษาจีนที่มหาวิทยาลัยไทย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากนักศึกษาจีน จำนวน 400 คน ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยไทย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) การวิจัยพบว่าการรับรู้การจัดการความปลอดภัยในสถานการณ์ COVID-19 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และส่วนประสมทางการตลาดบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าการรับรู้การจัดการความปลอดภัยในสถานการณ์ COVID-19 และส่วนประสมทางการตลาดบริการมีอิทธิพลต่อนักศึกษาจีนที่ตัดสินใจเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
ชัยวัฒน์ อุทัยแสน. (2555). กลยุทธ์การบริหารความปลอดภัยสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ฐานเศรษฐกิจ. (2563). อว.ถกด่วนมาตรการดูแล 1.2 หมื่นนักศึกษาจีนในไทย. สืบค้น 1 สิงหาคม 2563, จาก https://www.thansettakij.com/content/419896
ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่มีต่อการเรียนในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 32(26, 3) กันยายน-ธันวาคม, 32-41.
ประชาชาติธุรกิจ. (2563). มหา’ลัย “สหรัฐ-ออสซี่” เอฟเฟ็กต์ พิษโควิด-19 สูญรายได้ “นักศึกษาจีน” สืบค้น 1 สิงหาคม 2563, จาก https://www.prachachat.net/world-news/news-423463
ปรียานุช อินเทวา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาโทในต่างประเทศ. วารสารการตลาดและการสื่อสาร, 1(2) เมษายน – มิถุนายน 2556, 265-281.
วิเชียร พันธ์เครือบุตร. (2562). การปรับรื้ออุดมศึกษาไทย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 25(1) มกราคม-มิถุนายน, 94-113.
สุขตา เกิดภู่. (2561). การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(2) กรกฎาคม-ธันวาคม, 94-113.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2563). นักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2560. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
Dai Linhuan. (2560). การศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจที่ศึกษาต่อในประเทศไทยของคนจีน. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
Ling Yun Yang และกมลทิพย์ คำใจ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักศึกษาจีนในการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 1(2) กรกฎาคม - ธันวาคม, 73-89.
Rujirada Nakrung. (2019). นักศึกษาจีน โอกาสใหม่ของ (ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยไทย? สืบค้น 1 สิงหาคม 2563, จาก https://hip-th.me/news-update/523/
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3d ed). New York: John Wiley & Sons.
Kotler & Keller. (2012). Marketing Management: The millennium. (14th ed.). New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Lu, J., Le, T. & Fan, W. (2012). The Challenges Chinese Students Face in Australia. International Journal of Innovative Interdisciplinary Research, 1(3), 1-9.
Mok, K. H., Xiong, W., Ke, G., & Cheung, J. O. W. (2020). Impact of COVID-19 Pandemic on International Higher Education and Student Mobility: Student Perspectives from Mainland China and Hong Kong. International Journal of Educational Research, 101718. https://doi.org/10.1016/j.ijer.2020.101718
Songsathaphorn, P., Chen, C. & Ruangkanjanases, A. (2014). A Study of Factors Influencing Chinese Students’ Satisfaction toward Thai Universities. Journal of Economics, Business and Management, 2(2), 105-111.
Wang, C., Cheng, Z., Yue, X.G., & McAleer, M. (2020). Risk Management of COVID-19 by Universities in China. Journal of Risk and Financial Management, 13(2) February, 1-6.
Wang, Q., Taplin, R. & Brown, A. M. (2011). Chinese Students’ Satisfaction of the Study Abroad Experience. International Journal of Educational Management, 25(3), 265-277.
Waring, A. (1995). Safety Management Systems. Cengage Learning Emea.
Zhai, Y., & Du, X. (2020). Mental Health Care for International Chinese Students Affected by the COVID-19 Outbreak. The Lancet Psychiatry, 7(4) April, e22.