ยุทธศาสตร์การวิจัยขมิ้นชัน

ผู้แต่ง

  • เติมธรรม สิทธิเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.หอการค้าไทย
  • พนารัช ปรีดากรณ์

คำสำคัญ:

ขมิ้นชัน, งานวิจัยขมิ้นชัน, ยุทธศาสตร์งานวิจัย

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์คือ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยขมิ้นชัน สำหรับใช้เป็นแนวทางกำหนดทิศทางและเป้าหมายในการการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยขมิ้นชัน ที่สอดคล้องกับแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับบริบทในการพัฒนาการวิจัยขมิ้นชัน และข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดระดมความคิดเห็นจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ผู้อยู่ในภาคการผลิตสมุนไพรตั้งแต่ในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นำมาจัดทำยุทธศาสตร์ด้วยหลักการทางวิชาการ  ยุทธศาสตร์การวิจัยขมิ้นชันจัดทำขึ้นโดยการวิเคราะห์ที่ลงรายละเอียดทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมทั้งสิ้น 7 ยุทธศาสตร์ แต่ละยุทธศาสตร์ประกอบด้วยกลยุทธ์ และแนวทางในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ที่แปลงออกมาเป็นโครงการ/งานวิจัย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับต้นน้ำคือการปลูก กลางน้ำคือการสกัดสารสำคัญ และปลายน้ำคือการแปรรูปผลิตภัณฑ์  เพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาการวิจัยขมิ้นชันอันจะเป็นประโยชน์ต่อวงการสมุนไพรต่อไป

References

พนารัช ปรีดากรณ์ และคณะ. ยุทธศาสตร์การวิจัยการเกษตรรายสินค้า: ขมิ้นชันและบัวบก; 2563. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร; 2563
กระทรวงสาธารณสุข. แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี:
กระทรวงสาธารณสุข. 2562.
กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์, รารียา จิรธนานุวัฒน์ และภานุพงษ์ ภู่ตระกูล. สถานการณ์การวิจัยสมุนไพรไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและข้อเสนอเชิงนโยบาย. 2562. 17: 292-304.
ชฎา พิศาลพงศ์. การประเมินข้อมูลการวิจัยทางคลินิกของขมิ้นชันและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอแนวทางการวิจัยขมิ้นชันในอนาคต. รายงานการวิจัย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร; 2563.
สุรพจน์ วงศ์ใหญ่. บทวิเคราะห์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเตรียมความพร้อมภาคอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยเข้าสู่ ASEAN Harmonization. รายงานการวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2555.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. โครงการศึกษาโอกาสทางการตลาดสมุนไพรไทยเป้าหมาย. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2561.
American Botanical Council. Herb Market Report [Internet]. USA. [cited 2019 December 8]. Available from: http://cms.herbalgram.org/herbalgram/issue123/files/HG123-HMR.pdf
Atsushi Imaizumi. Highly Bioavailable Curcumin (Theracurmin): Its Development and Clinical Application. PharmaNutrition. 2015. 3(4): 123-130.
CBI [Database on the Internet]. The European market potential for curcuma longa (turmeric). Netherlands: Ministry of Foreign Affairs; [cited 2020 June 26]. Available from: https:// www.cbi.eu/market-information/spices-herbs/curcuma/market-potential
Ly Nguyen, Lam T. Duong and Rao S. Mentreddy. The U.S. import demand for spices and herbs by differentiated sources. Journal of Applied Research on Medicinal and Aromatic Plants. 2019. 12: 13-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24