การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐิพร วงษ์ไทย
  • วรชัย วิภูอุปรโคตร 0896998200

คำสำคัญ:

การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ซึ่งการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาจะสร้างประโยชน์ในด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ รวมถึงการส่งเสริมการจัดการศึกษาของผู้เรียนที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน การใช้แบบสอบถามกับตัวอย่างซึ่งเป็นครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 297  คน ในภาพรวมของการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 อยู่ในระดับดี ด้านการมีส่วนร่วมในการร่วมประเมินผลเป็นเพียงด้านเดียวที่มีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง  การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน  ผู้บริหารและครูต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างโอกาสในการให้ชุมชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมมือกับสถานศึกษาในการดำเนินงาน ดังนั้น สถานศึกษาและชุมชนควรร่วมกันสร้างความร่วมมือในทุกมิติในการจัดการศึกษาโดยชุมชนเพื่อชุมชนและต่อเนื่อง

References

รายการอ้างอิง
กนกอร บุญกว้าง. (2559). การมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาของชุมชน กรณีศึกษาโรงเรียนบ้าน เหมือดขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2559.
ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2551). บทบาทประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา. The city Journal ปีที่ 4 ฉบับที่ 85 วันที่ 1-15 มีนาคม.
ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
มนตรา ผลศรัทธา. (2557). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Abreh, Might K. (2017). Involvement of school management committees in school-based management:experiences from two districts of Ghana. University of Cape Coast.
Diosdado M. San Antonio, David T. Gamage. (2007). Building trust among educational stakeholders through Participatory School Administration, Leadership and Management. University of Newcastle, Australia. Management in Education. SAGE Publications.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. Vol.30. (No.3): 607-610.
Likert, Rensis. (1967). New Patterns of Management. New York : McGraw-Hill Book Company Inc.
Loeurt. (2016). Community Participation in Education A Case Study in the Four Remote Primary Schools in Samlot District, Battambang Province, Cambodia, School of Geography, Environment and Earth Sciences Victoria University of Wellington.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย