การบริหารสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

ผู้แต่ง

  • วรชัย วิภูอุปรโคตร 0896998200
  • มลกาญจน์ มาตแม้น

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการบริหารสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ที่ผู้บริหารสถานศึกษาให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมคิดร่วมทำในการบริหารสถานศึกษาแบบใหม่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้รับกลับจากกลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 297 คน พบว่า ภาพรวมของการบริหารสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 อยู่ในระดับดี ผลการประเมินแต่ละด้านใน 5 ด้านอยู่ในระดับดี ได้แก่ 1) การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการทำงานและการเรียนรู้ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) การสร้างสถานศึกษาให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 3) การสร้างแรงบันดาลใจ 4) การให้ครูมีส่วนร่วมคิดร่วมทำในการบริหารอย่างสร้างสรรค์ และ 5) การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 8 คน เกี่ยวกับแนวทางการบริหารสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ พบว่า การบริหารสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ต้องใช้หลักการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำของครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษาต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร โดยความร่วมมือจากครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อนำไปสู่การบริหารสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์

References

รายการอ้างอิง
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). คิดสร้างสรรค์: สอนและสร้างได้อย่างไร. –กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภรณ์ทิพย์ ปั้นกอง. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนเชิงสร้างสรรค์. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2, กรกฎาคม–ธันวาคม 2562.
โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมทีส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
Avalos, B. (2011). Teacher professional development in Teaching and Teacher Education over ten years. Teaching and Teacher Education, 27 (1), pp. 10-20
Camburn, E.M. and Han, S.W. (2015). Infrastructure for teacher reflection and instructional change: An exploratory study. Journal of Educational Change, 16 (4), pp. 511-533
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. Vol.30. (No.3): pp. 607-610.
Likert, Rensis. (1967). New Patterns of Management. New York : McGraw-Hill Book Company Inc.
Lind, Dorothy S. (2001). Improving instructional practice: An action research study of the integration of technology into a grade four/five social curriculum. Med. The university if Regina, Canada
Salter, Peta. (2017). Knowing Asia: creative policy translation in an Australian school setting. Journal of Education Policy Volume 29, 2014 - Issue 2.
Sternberg, R. J. (2006). Creative leadership: it's a decision. Journal of Leadership. Retrieved from https://eric.ed.gov/ ? id=EJ771715
Zhu, H. (2010). Curriculum reform and professional development: A case study on Chinese teacher educators. Professional Development in Education, 36 (1–2) (2010), pp. 373-391.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24